• Knowledge

แก้อาการปวดหลัง จาก Work From Home ด้วยเก้าอี้เพื่อสุขภาพ

  • โดย NocNoc Writer

  • 268

แก้อาการปวดหลัง จาก Work From Home ด้วยเก้าอี้เพื่อสุขภาพ

เคยสังเกตตัวเองไหมว่า ทำไมช่วงนี้ปวดหลังมากกว่าปกติ? สาเหตุของการปวดหลังเกิดมาจากอะไร แล้ว Work From Home เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังรึเปล่า?

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ทำให้หลายบริษัทต้องใช้นโยบาย Work Frome Home ซึ่งการทำงานแบบ Work From Home ไม่ต่างอะไรจากการทำงานที่บริษัท ต่างกันแค่สถานที่เพราะรูปแบบงานที่ทำก็ยังเหมือนเดิม

แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ พฤติกรรมการทำงาน จากปกตินั่งทำงานด้วยเก้าอี้สำนักงานหรือเก้าอี้เพื่อสุขภาพ และต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานตลอด 7- 8 ชั่วโมง เปลี่ยนมานั่งเก้าอี้ตัวโปรด ทำงานสบาย ๆ ที่บ้าน เปลี่ยนเป็นนั่งท่าแปลก ๆ บางคนไม่ได้นั่งเก้าอี้ก็นั่งขัดสมาธิบนพื้นตามความสะดวก แต่ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะทำงานที่บ้านหรือที่บริษัท หากเป็นการนั่งนาน ๆ โดยไม่ขยับเลยก็ส่งผลเสียให้กับร่างกายของคุณเองด้วยเช่นเดียวกัน

อาการปวดหลัง และโรคร้ายที่มากับพฤติกรรมการทำงาน

การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในอิริยาบถเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะโรคที่ทำให้ใครหลายคนปวดหลังอย่างโรคออฟฟิศซินโดรม

ภาพ: อาการปวดหลังที่มาพร้อมกับการทำงาน
ภาพ: อาการปวดหลังที่มาพร้อมกับการทำงาน

โรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการทำพฤติกรรมเดิมซ้ำ ๆ กล้ามเนื้อถูกใช้งานแบบเดิมเป็นเวลานาน ไม่เปลี่ยนอิริยาบถของร่างกาย รวมไปถึงการนั่งผิดวิธีจนทำให้เกิดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณคอ, บ่าและหลัง นี้คือหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม

อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม

  • ปวดหลังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน
  • กล้ามเนื้อตึงตั้งแต่บริเวณคอถึงบ่า
  • นิ้วล็อค ขยับนิ้วไม่สะดวก กางนิ้วแล้วเกิดอาการเจ็บ
  • ปวดร้าวและมึนบริเวณศีรษะ
  • ปวดบริเวณเบ้าตาบ่อยครั้ง
  • มีอาการชาบริเวณไหล่ถึงแขน
ภาพ: อาการปวดตึงบริเวณบ่าหนึ่งในอาการโรคออฟฟิศซินโดรม
ภาพ: อาการปวดตึงบริเวณบ่าหนึ่งในอาการโรคออฟฟิศซินโดรม

ทำไม Work From Home ถึงเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม?

หากพฤติกรรมการนั่งทำงานแบบเดิมซ้ำ ๆ หลายชั่วโมงที่บริษัท คือสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม แล้วทำไมการเปลี่ยนพฤติกรรมมาทำงานที่บ้าน ถึงยังมีโอกาสเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมอยู่?

คำตอบคือ ออฟฟิศซินโดรมไม่ได้เกิดจากสถานที่แต่เกิดจากพฤติกรรมการทำงา

ภาพ: การทำงานแบบ Work from home
ภาพ: การทำงานแบบ Work from home

พฤติกรรมการทำงานแบบ Work From Home สบายแต่เสี่ยง

การทำงานที่บ้านทำให้พฤติกรรมการทำงานเปลี่ยนไป จากนั่งที่โต๊ะทำงานตลอดวัน เมื่อทำงานที่บ้านก็ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ทำงานบนโซฟาหรือทำงานบนที่นอน ซึ่งความสบายในการทำงานบางครั้งก็ส่งผลเสียมากกว่าผลดี

รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นผนวกกับความสะดวกสบาย ทำให้ใครหลายทำงานจนเพลินลืมดูเวลา รวมถึงการนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน พฤติกรรมเหล่านี้ คือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

ภาพ: ความสบายในจากการ Work from home
ภาพ: ความสบายในจากการ Work from home

นั่งผิดวิธี เสี่ยงออฟฟิศซินโดรมระยะยาว

ในเมื่อการนั่งเป็นสาเหตุลำดับต้น ๆ ของการเกิดโรค เราลองมาแจกแจงท่านั่งที่ส่งผลต่อหลังของเราในระยะยาวกัน ซึ่งท่านั่งที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมคือ การนั่งหลังค่อม นั่งงอหลัง การนั่งในลักษณะนี้ส่งผลให้น้ำหนักกดลงที่หมอนรองกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ต่อมาคือ ท่านั่งบิดตัว การนั่งบิดตัวไปมาทำให้กระดูกสันหลังผิดรูป และน้ำหนักจะลงที่หมอนรองกระดูก

ภาพ: ท่านั่งที่เสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม
ภาพ: ท่านั่งที่เสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม

แก้ไขออฟฟิศซินโดรม รักษาอาการปวดหลัง

ตามที่กล่าวไปข้างต้นอาการปวดหลังที่เกิดจากออฟฟิศซินโดรมมาจากสาเหตุหลักคือ การนั่ง โดยการทำงานที่บริษัทหากนั่งผิดวิธี เก้าอี้ที่มีคุณภาพของบริษัทก็ยังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ แต่สำหรับการ Work From Home เก้าอี้หรือโซฟาที่ใช้ทำงาน ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการนั่งทำงานในระยะเวลานาน จึงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพหลังได้

ดังนั้นหากต้องการแก้ไขโรคออฟฟิศซินโดรม ควรแก้ที่ต้นเหตุ คือพฤติกรรมการนั่งทำงาน ท่านั่งที่ผิดปกติ เช่น การนั่งหลังงอ ก้มคอ เป็นต้น และการเลือกใช้เก้าอี้ที่เหมาะสมการทำงานเพื่อให้นั่งได้ถูกท่าและถูกที่ไปพร้อมกัน

ภาพ: ตัวอย่างการนั่งแบบถูกวิธี
ภาพ: ตัวอย่างการนั่งแบบถูกวิธี

หลีกเลี่ยงท่าแปลก ๆ นั่งถูกวิธีช่วยลดอาการปวดหลัง

ท่านั่งที่ถูกวิธีสำหรับการป้องกันอาการปวดหลังคือ การนั่งหลังตรงชิดติดพนักพิงเก้าอี้ วางเท้าตั้งตรงทำมุม 90 องศา ขณะทำงานต้องพยายามไม่ให้ก้มคอติดต่อกันเป็นเวลานาน หากทำได้หลังและคอจะตั้งตรง น้ำหนักจะไม่กดลงบริเวณต้นคอและกระดูกสันหลังมากเกินไป อาการปวดหลังและคอจะลดลงจากปกติ

ภาพ: การนั่งทำงานแบบถูกวิธี
ภาพ: การนั่งทำงานแบบถูกวิธี

เปลี่ยนหลังที่ปวดด้วยเก้าอี้เพื่อสุขภาพ

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ (Ergonomic Office Chair) คือ เก้าอี้ที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ โดยระดับความสูงของที่นั่งสามารถปรับได้ตามสรีระของผู้นั่ง มีส่วนเสริมของพนักพิงหลังช่วงล่างที่สามารถปรับระดับความเอียงได้ มีเท้าแขนที่ปรับระดับได้

เก้าอี้เพื่อสุขภาพช่วยแก้ปัญหาอาการปวดหลังยังไง

สิ่งที่เก้าอี้เพื่อสุขภาพช่วยแก้ปัญหาออฟฟิศซินโดรมและอาการปวดหลังได้คือ การออกแบบ โดยส่วนประกอบที่ช่วยลดอาการปวดหลังมีดังนี้

  • พนักพิงหลังช่วงล่าง ช่วยรองรับกระดูกสันหลังไม่ให้เกิดการโค้งงอ 
  • ที่พักแขนช่วยลดอาการปวดหลัง จากการกระจายน้ำหนักตัวไปที่หลัง ช่วยลดอาการปวดไหล่ จากการกระจายน้ำหนักกล้ามเนื้อบริเวณสะบักและต้นแขน
  • Lumbar Protection Support ระบบช่วยป้องกันการปวดเอว
  • พนักพิงบริเวณคอที่สามารถปรับองศาที่รองคอได้จะช่วยลดอาการปวดบริเวณต้นคอ
ภาพ: การออกแบบที่ช่วยลดอาการปวดหลังในเก้าอี้เพื่อสุขภาพ ดีเอฟ ออฟฟิศเฟอร์นิเจอร์
ภาพ: การออกแบบที่ช่วยลดอาการปวดหลังในเก้าอี้เพื่อสุขภาพ ดีเอฟ ออฟฟิศเฟอร์นิเจอร์

เคล็ดลับการเลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพ

  • ต้องสามารถปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้ตรงตามสรีระผู้นั่งได้
ภาพ:การวัดขนาดของเก้าอี้เพื่อคำนวณสรีระของผู้นั่ง
ภาพ:การวัดขนาดของเก้าอี้เพื่อคำนวณสรีระของผู้นั่ง
  • ความลึกของเบาะไม่ควรมากกว่าต้นขา
  • รูปทรงของเบาะควรรองรับพอดีกับร่างกาย ไม่นุ่มและแข็งจนเกินไป

ภาพ: เก้าอี้เพื่อสุขภาพ OfficeIntrend เก้าอี้ที่มีเบาะรองรับกับสรีระร่างกาย

  • พนักผิงควรพอดีกับแผ่นหลัง หรือมีระบบล็อคการเอนของพนักผิง เพราะท่านั่งที่พอดีไม่ควรเอนไปด้านหลัง

ภาพ: ระบบล็อคการเอนพนักผิงในเก้าอี้เพื่อสุขภาพ OfficeIntrend

  • ขณะนั่งต้องสามารถถ่ายเทกระจายน้ำหนักได้ดี

ภาพ: เก้าอี้เพื่อสุขภาพ ดีเอฟ ออฟฟิศเฟอร์นิเจอร์ สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 120 กิโลกรัม

  • ที่วางแขนต้องสามารถปรับระดับความสูงได้ เพราะความสูงของการวางแขนส่งผลโดยตรงกับการปวดบริเวณบ่า

ภาพ: เก้าอี้เพื่อสุขภาพ OfficeIntrend สามารถปรับระดับความสูงของที่วางแขนได้

  • ต้องมีที่รองคอที่สามารถปรับองศาที่รองคอได้

ภาพ: ระบบการปรับที่รองคอในเก้าอี้เพื่อสุขภาพ OfficeIntrend

  • มีพนักพิงหลังช่วงล่าง และมีระบบ Lumbar Protection Support

ภาพ: เก้าอี้เพื่อสุขภาพ OfficeIntrend มีระบบ Lumbar Protection Support

  • ต้องมีระบบ Follow back ที่สามารถปรับเก้าอี้ตามรูปแบบการนั่ง

ภาพ: ระบบพนักผิงหลังแบบ Follow back ในเก้าอี้เพื่อสุขภาพ OfficeIntrend

สรุป

อาการปวดหลังจากโรคออฟฟิศซินโดรม เกิดจากพฤติกรรมการนั่งทำงานทั้งการนั่งผิดท่าหรือการนั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน ซึ่งการแก้ไขสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนเก้าอี้ทั่วไป มาใช้เก้าอี้เพื่อสุขภาพ เพื่อปรับท่า และปรับที่นั่งให้ถูกต้อง รวมถึงการปรับพื้นที่ภายในบ้านให้เหมาะกับการ Work From Home ไม่นั่งหลังค่อม หากปรับได้ทั้งสองอย่างนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงอาการปวดหลังได้

สำหรับใครที่สนใจเก้าอี้เพื่อสุขภาพ ที่ NocNoc.com มีสิ่งที่คุณตามหา โดยคุณสามารถเปรียบเทียบคุณภาพและราคาได้ภายในเว็ป เพื่อให้คุณได้ของที่คุ้มค่าในราคาที่ถูกใจ และนอกจากเก้าอี้เพื่อสุขภาพแล้ว NocNoc.com ยังมีสินค้าตกแต่งบ้านอีกมากมาย หากใครสนใจอย่าลืมเข้าไปที่ NocNoc.com เพราะเราพร้อมเป็นตัวช่วยเปลี่ยนความฝันเรื่องบ้านให้เป็นความจริง!

แต่งบ้านได้สุดอย่างฝัน ที่ NocNoc.com

บทความที่เกี่ยวข้อง