-
Knowledge
วิธีเลือกวัสดุปูพื้นบ้าน เปลี่ยนพื้นใหม่ให้สวยไฉไล ถูกใจคนสร้างบ้าน
-
โพสต์เมื่อ 24 Sep 2020
-
โดย NocNoc Writer
-
43
“ก่อนเริ่มปูพื้นบ้านต้องเริ่มจากเข้าใจวัสดุ” ในแต่ละพื้นที่ของบ้านมีความสวยงามและวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน วัสดุปูพื้นไม่ได้เหมาะกับทุกพื้นที่ ดังนั้นการเลือกวัสดุปูพื้นบ้าน จึงควรเริ่มต้นจากทำความรู้จักวัสดุและเข้าใจพื้นที่ก่อน
รู้จักวัสดุปูพื้นบ้านก่อนเลือก
1.กระเบื้องยาง
กระเบื้องไวนิลหรือกระเบื้องยาง เป็นวัสดุปูพื้นบ้านที่ทำมาจาก PVC ส่งผลให้ผิวสัมผัสมีความนุ่ม สบายเท้า ติดตั้งง่ายทั้งระบบ Click-lock และแบบDry back โดยคุณสมบัติของกระเบื้องยางคือ มีความยืดหยุ่น ไม่หดตัว น้ำหนักเบา ป้องกันความชื้นได้ดี ทนต่อรอยขีดข่วนและรองรับน้ำหนักได้มาก
ทั้งนี้กระเบื้องยางเป็นวัสดุปูพื้นบ้านที่มีหลายประเภท ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้
- กระเบื้องยาง LVT (Luxury Vinyl Tile) ผลิตด้วยไวนิล มีความยืดหยุ่นและแข็งแรง รองรับกระแทกได้ดี
- กระเบื้องยาง WPC (Wood Plastic Composite) ผลิตจากผงไม้และพลาสติกอัดแน่นเข้าด้วยกัน มีความหนาแน่นที่มากกว่ากระเบื้องยาง LVT
- กระเบื้องยาง SPC (Stone Plastic Composite) ผลิตจากหินปูอัดผสมกับพลาสติก ส่งผลให้มีความแข็งตัวสูงและไม่ยืดหดตัว ลดปัญหาการติดตั้งในพื้นที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ ซึ่งมักจะพบปัญหากระเบื้องยางเกย นอกจากนี้ยังทนต่อรอยขีดข่วนและรับน้ำหนักได้มาก ไม่มีปัญหาความชื้นสามารถติดตั้งได้แม้ในพื้นที่เปียกชื้นอย่างบริเวณหน้าห้องน้ำ
เคล็ดลับการเลือกกระเบื้องยาง
- การเลือกกระเบื้องยาง ส่วนใหญ่จะเน้นความสำคัญไปที่ลวดลาย ควรสำรวจความต้องการและสไตล์บ้านให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- วิธีการติดตั้งกับการรับน้ำหนัก สำหรับบ้านที่มีสมาชิกในบ้านจำนวนมาก การติดตั้งแบบ Dry back (ทากาว) อาจรองรับน้ำหนักได้ไม่ดีพอและนำไปสู่ความเสียหายหรือหลุดลอกได้ ควรเลือกการติดตั้งแบบ Click-lock แทน
2.หินอ่อน
หินอ่อนเป็นวัสดุปูพื้นบ้านที่มีความแข็งแรงทนทาน มีจุดเด่นที่ลวดลายเฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำกันจากแหล่งธรรมชาติ มีความเงางาม และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน การใช้หินอ่อนปูพื้นบ้านจะให้ความรู้สึกที่หรูหรา มีระดับ สมราคา แต่จุดอ่อนของหินอ่อนคือ เป็นรอยขีดข่วนง่าย ดูแลรักษายาก
เคล็ดลับการเลือกหินอ่อน
- ลายของหินอ่อนสำคัญ เนื่องจากหินอ่อนเป็นวัสดุปูพื้นบ้านที่มีจุดเด่นตรงลวดลาย ดังนั้นควรเลือกหินอ่อนที่มีลายต่อหรือเป็นไปในโทนเดียว เพื่อให้สะดวกในการแต่งบ้าน
ภาพ: หินอ่อน
3.กระเบื้องเซรามิก
สำหรับกระเบื้องเซรามิกเป็นวัสดุปูพื้นบ้านที่ผลิตด้วยการเผาผ่านอุณหภูมิที่สูง จากนั้นจึงเคลือบผิวตกแต่งให้เกิดความเงางามและลายที่ต้องการ โดยคุณสมบัติของกระเบื้องเซรามิกคือ น้ำเบา กันน้ำได้ดี แต่มีจุดอ่อนที่การรับน้ำหนัก ไม่สามารถรับน้ำหนักในปริมาณมาก มีโอกาสที่พื้นจะแตกหักได้ ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนากระเบื้องพอร์ชเลนขึ้น ที่มีเนื้อละเอียดและรับน้ำหนักได้มากขึ้นกว่าเดิม
เคล็ดลับการเลือกกระเบื้องเซรามิก
- ตรวจสอบผิวสัมผัส เพราะกระเบื้องเซรามิกมีทั้งผิวมันและผิวด้าน หากบ้านไหนมีสมาชิกเป็นเด็กหรือผู้อายุ ควรเลือกวัสดุปูพื้นบ้านเป็นกระเบื้องแบบผิวด้าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
- ขนาดก็สำคัญ โดยขนาดของกระเบื้องช่วยเสริมความรู้สึก ในการเชื่อมต่อของพื้นที่ อาทิ ห้องขนาดเล็กเหมาะสำหรับกระเบื้องขนาดเล็ก จะทำให้ห้องรู้สึกไม่อึดอัดและแคบเกินไป เพราะกระเบื้องขนาดใหญ่จะใช้จำนวนน้อย ส่งผลให้ห้องดูเล็กลง เนื่องจากใช้กระเบื้องไม่กี่แผ่นก็เต็มพื้นที่แล้ว
4.กระเบื้องแกรนิตโต้
กระเบื้องแกรนิตโต้เป็นกระเบื้องที่ผลิตเลียนแบบหินธรรมชาติอย่างหินแกรนิต ด้วยการผสมของหิน ดินและสีเซรามิก ส่งผลให้มีความแข็งแรงมากกว่ากระเบื้องประเภทอื่น ทนต่อความชื้น มีอัตราดูดซึมน้ำต่ำ อีกทั้งยังมีกระเบื้องแกรนิตโต้บางชนิดที่เคลือบผิวหน้าด้วยนาโน ทำให้เกิดความเงางาม ป้องกันรอยขีดข่วน รวมถึงช่วยป้องกันฝุ่น ดูแลรักษาง่าย
เคล็ดลับการเลือกกระเบื้องแกรนิตโต้
- หลีกเลื่ยงกระเบื้องแกรนิตโต้ที่มีรูพรุน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นและแบคทีเรีย ควรเลือกกระเบื้องแกรนิตโต้ที่มีนาโนเคลือบ
- เคาะหรือยกกระเบื้องแกรนิตโต้เพื่อตรวจสอบความหนาแน่นของกระเบื้อง ยิ่งหนาแน่นยิ่งดี
5.ไม้จริง
ไม้เป็นวัสดุปูพื้นบ้านยอดนิยม ด้วยความสวยงามจากลายของไม้และความทนทาน ส่งผลให้ไม้เป็นทางเลือกยอดนิยม โดยการใช้ไม้จริงช่วยให้บ้านไม่ร้อน เพราะสามารถถ่ายเทความร้อนได้เร็ว พื้นบ้านไม้จึงเย็น ไม่อบอ้าว ประกอบกับลายไม้ที่ไม่ซ้ำกันทำให้พื้นบ้านโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แต่มีข้อเสียงอยู่ที่จะมีเสียงดังขณะเดินและดูแลยาก มักมีปัญหาเรื่องปลวกกินเนื้อไม้
เคล็ดลับการเลือกไม้ปูพื้นบ้าน
- ไม้ที่ใช้ควรเลือกเป็นไม้เนื้อแข็ง อย่างไม้เต็ง ไม้แดง และไม้ประดู่ จะช่วยยืนอายุการใช้งานของไม้ และมีความแข็งแรงกว่าไม้ประเภทอื่น
ภาพ: พื้นไม้จริง
6.ไม้ลามิเนต
สำหรับบ้านไหนที่อยากปูพื้นบ้านด้วยไม้ แต่ไม่มีเวลาดูแล ไม้ลามิเนตเป็นทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน โดยพื้นไม้ลามิเนตทำมาจากการบีบอัดเส้นใยไม้ด้วยความร้อนและเคลือบผิวด้วยวัสดุกันรอยขีดข่วน ส่งผลให้พื้นไม้ลามิเนตมีความทนทาน ทนทานต่อรอยขีดข่วน ซึ่งดูแลง่ายกว่าไม้จริง และยังทนต่อความร้อนอีกด้วย
เคล็ดลับการเลือกไม้ลามิเนต
- เลือกจากความหนา โดยยิ่งความหนาของไม้ลามิเนตมากเท่าไร ยิ่งรองรับแรงกดทับได้ดีมากขึ้นเท่านั้น สำหรับความหนาที่รับแรงกดทับได้ดีอยู่ที่ 8-12 มิลลิเมตร
- เลือกจากค่า AC Rating ค่านี้คือค่าความทนทาน ซึ่งใช้ในการประเมินการใช้งานพื้นที่ อาทิ ค่า AC 1:21 เหมาะสำหรับบ้านที่มีการเดินผ่านเล็กน้อย อย่างห้องนอน ส่วนค่า AC 3:23 เหมาะสำหรับพื้นที่ที่เดินผ่านบ่อย อย่างบริเวณทางเดินประตูบ้าน เป็นต้น
ภาพ: ไม้ลามิเนต Pasadena
เข้าใจพื้นที่ วิธีเลือกวัสดุปูพื้นบ้านให้เหมาะกับห้อง
ห้องนอน
สำหรับการเลือกวัสดุปูพื้นบ้านในห้องนอน สิ่งสำคัญคือความสบายและความสะอาด โดยวัสดุที่ปูพื้นห้องควรมีความนุ่มสบายเท้า อย่าง พื้นไม้, กระเบื้องยาง SPC หรือไม้ลามิเนต จะช่วยให้เดินสบายมากขึ้น นอกจากนี้วัสดุทั้งสองยังทำความสะอาดง่าย ดูแลรักษาไม่ยากทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน นอกจากการใช้งานแล้วห้องนอนเป็นพื้นที่พักผ่อน ดังนั้นควรเลือกวัสดุและโทนสีที่ให้ความอบอุ่นดูแล้วสบายตา เหมาะแก่การพักผ่อน
ภาพ: ห้องนอนที่ปูพื้นห้องด้วย กระเบื้องยาง Pasadena
ห้องนั่งเล่น
ห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขกเป็นเปรียบเสมือนหน้าตาของบ้าน ดังนั้นการเลือกวัสดุปูพื้นจึงควรคำนึงถึงความสวยงามและสไตล์บ้านเป็นหลัก อาทิ บ้านที่ต้องการความหรูหรา วัสดุปูพื้นบ้านที่เหมาะคือ หินอ่อนและกระเบื้องแกรนิตโต้ ที่สะท้อนให้เห็นความหรูหรา หรือบ้านที่ต้องการตกแต่งอย่างเรียบง่าย กระเบื้องยาง SPC และไม้ลามิเนตก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน
ภาพ: ห้องนั่งเล่นที่ปูพื้นบ้านด้วยกระเบื้องแกรนิตโต้
ห้องครัว
พื้นห้องครัวเป็นพื้นที่ที่แตกต่างจากส่วนอื่นของบ้าน โดยการเลือกวัสดุปูพื้นควรคำนึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยเป็นหลัก เนื่องจากห้องครัวเป็นพื้นที่ประกอบอาหาร ดังนั้นจึงมีสิ่งสกปรกที่เกิดจากการทำอาหารติดตามพื้น การเลือกวัสดุปูพื้นจึงควรเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย อย่างกระเบื้องเซรามิกและกระเบื้องยางลายไม้ ทั้งนี้ควรเลือกประเภทผิวสัมผัสที่ด้านและหยาบเพื่อเสริมความปลอดภัยขณะทำอาหาร
ภาพ: ห้องครัวที่ใช้กระเบื้องในการปูพื้น
ห้องน้ำ
การเลือกวัสดุปูพื้นห้องน้ำ สิ่งที่ควรคำนึงคือความปลอดภัยและความสามารถในการทนความชื้น โดยความปลอดภัยควรเลือกกระเบื้องที่มีค่า R (ค่ากันลื่น) มากกว่า 10 อย่างกระเบื้องแกรนิตโต้และกระเบื้องเซรามิก จะช่วยเรื่องความปลอดภัยขณะใช้ห้องน้ำได้ อีกทั้งกระเบื้องแกรนิตโต้ยังมีลายให้เลือกหลากหลายสามารถตกแต่งได้ตามสไตล์ที่ชอบ
ภาพ: ห้องน้ำที่ใช้กระเบื้องเซรามิก Cotto
วิธีการคำนวณการปูพื้นบ้าน
สำหรับวิธีการคำนวณจำนวนกระเบื้องสำหรับปูพื้นบ้าน เริ่มจากการคำนวณพื้นห้องก่อน โดยใช้หลักการ พื้นที่ = ด้านกว้าง (W) x ด้านยาว (H) ยกตัวอย่างเช่น ห้องที่มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 8 เมตร พื้นที่ภายในห้อง คือ 64 ตารางเมตร จากนั้นให้ตรวจสอบว่า 1 กล่องปูได้กี่ตารางเมตร เช่น 1 กล่องปูได้ 1.44 ตารางเมตร ดังนั้นจำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้คือ 48.89 กล่อง
แต่สำหรับใครที่ไม่ถนัดการคำนวณ ภายในเว็บ NocNoc.com มีบริการคำนวณพื้นที่ให้ เพียงแค่เลือกกระเบื้องที่ต้องการ เลื่อนไปด้านล่างจะพบเครื่องมือคำนวณพื้นที่ให้ใช้ฟรี! และสำหรับใครที่กำลังมองหาช่าง ทาง NocNoc.com มีบริการปูพื้นบ้านด้วยช่างมืออาชีพ เพื่อให้พื้นบ้านคุณสวยงามและมีคุณภาพได้มาตรฐาน
ภาพ: ตัวอย่างเครื่องมือคำนวณพื้นที่ภายในเว็บ NocNoc.com
สรุป
ในการเลือกวัสดุปูพื้นบ้านควรเริ่มต้นจากรู้จักวัสดุปูพื้นก่อน เพื่อให้ทราบถึงคุณสมบัติและความเหมาะสมในการนำไปใช้ จากนั้นจึงศึกษาพื้นที่บ้าน เพราะในแต่ละพื้นที่มีจุดประสงค์ในการปูพื้นที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากรู้จักวัสดุและรู้จักพื้นที่จะทำให้พื้นบ้านสวยงามและตอบโจทย์การใช้งาน
สำหรับใครที่กำลังมองหาไอเดียและของตกแต่งบ้าน NocNoc.com ได้รวบรวมสินค้าจำนวนมาก มีครบทุกห้องที่คุณต้องการ แถมในช่วงพิษเศรษฐกิจแบบนี้ NocNoc.com ใจดีแจกโปรโมชั่นส่วนลดมากมาย เพื่อให้ทุกคนได้สินค้าคุณภาพในราคาที่โดนใจ เพราะ NocNoc.com เราพร้อมเป็นตัวช่วยเปลี่ยนความฝันเรื่องบ้านให้เป็นความจริง!
“
187
-
Knowledge
ฝ้าเพดานมีกี่แบบ เลือกแบบไหนดีให้เหมาะกับบ้านเรา?
โพสต์เมื่อ 04 Nov 2024
135
-
Knowledge
รู้จักพื้น SPC ที่สุดของวัสดุปูพื้นที่บ้านยุคใหม่
โพสต์เมื่อ 04 Oct 2024
130
-
Tips&Tricks
10 แบบกระเบื้องปูพื้นบ้าน เย็นสบายเท้า หน้าไหน ๆ ก็สบาย
โพสต์เมื่อ 28 Apr 2021
121
-
Tips&Tricks
-
+1
กระเบื้องระเบิด ปัญหาเรื่องพื้นที่ไม่พื้น ๆ รีบแก้ไขด่วน!
โพสต์เมื่อ 05 Apr 2021
114
-
Others
-
+3
ทำฝ้าทั้งทีไม่มีผิดหวัง! ด้วยข้อควรรู้ก่อนติดตั้งและรับงานฝ้าเพดาน
โพสต์เมื่อ 06 Sep 2022