• Tips&Tricks

6 วิธีการเลือกที่นอนแบบไหนดี ที่เหมาะกับคุณ

  • โดย NocNoc Writer

  • 120

รู้ไหมว่าที่นอนที่คุณเลือกส่งผลต่อสุขภาพของคุณไม่น้อยเลย ?

 

อาการปวดหลัง ปวดคอ หรือนอนไม่หลับ อาการเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากที่นอนที่ไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย

โดยเฉลี่ยแล้วคนเราใช้ชีวิตบนที่นอน 6-8 ชั่วโมงจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจที่สุขภาพของคนเราจะมีที่นอนเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ดังนั้นการเลือกที่นอนจึงจำเป็นต้องพิถีพิถันเพื่อให้ได้ของที่เหมาะกับร่างกายคุณมากที่สุด แต่จะเลือกที่นอนแบบไหนดี?  NocNoc.com มีคำตอบ

ประเภทที่นอน

ก่อนตัดสินใจเลือกที่นอน ต้องทำความรู้จักประเภทของที่นอนกันก่อนว่ามีประเภทอะไรบ้างและคุณสมบัติของแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นตัวช่วยประกอบการเลือกที่นอนได้ง่ายขึ้น

ที่นอนยางพารา

ที่นอนยางพาราทำมาจากน้ำยางพารา มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง เนื้อของที่นอนยางพารายึดตัวกันเหนี่ยวแน่นจึงส่งผลให้ไม่ยุบตัวง่าย ทนต่อแรงกดทับ นอกจากนี้ที่นอนยางพารายังมีลักษณะเป็นรูเล็กๆจำนวนมากจึงส่งผลให้ไม่กักเก็บฝุ่นและไม่สะสมความชื้น

โดยที่นอนยางพาราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้

 

1.ที่นอนยางพาราแท้ 100%

ภาพ: ที่นอนยางพาราแท้
ภาพ: ที่นอนยางพาราแท้

2.ที่นอนยางพาราอัด

ภาพ: ที่นอนยางพาราอัด
ภาพ: ที่นอนยางพาราอัด

โดยทั้งสองจะมีความแตกต่างกันตั้งแต่วิธีการผลิต เริ่มจากที่นอนยางพาราอัดที่ใช้เศษยางพารามาผสมอัดรวมกันเป็นก้อน ส่วนที่นอนยางพาราแท้ จะใช้แม่พิมพ์แล้วฉีดน้ำยางขึ้นรูปเป็นที่นอน

จากกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างส่งผลให้คุณสมบัติของที่นอนยางพารามีความแตกต่างกัน โดยที่นอนยางพาราอัดจะมีความแน่นและแข็งมากกว่าที่นอนยางพาราแท้ ส่งผลให้การรองรับสรีระของผู้นอนไม่สามารถทำได้ดีเท่าที่ควร

ข้อดีของที่นอนยางพารา

  • ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง
  • รับแรงกดทับได้มาก
  • ระบายอากาศได้ดี ไม่เก็บกักความชื้นและฝุ่น
  • กระจายน้ำหนักทุกส่วนของที่นอน ส่งผลให้รองรับสรีระของผู้นอนได้ดี

ข้อเสียของที่นอนยางพารา

  • มีน้ำหนักมาก ส่งผลให้ดูแลความสะอาดลำบาก เช่น ยกที่นอนเพื่อเปลี่ยนผ้าปูที่นอน เป็นต้น
  • ขณะใช้ใหม่กลิ่นยางของที่นอนค่อนข้างแรง
  • ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับที่นอนประเภทอื่น

ที่นอนฟองน้ำอัด

ที่นอนฟองน้ำทำมาจากการนำฟองน้ำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วอัดให้แน่นจนกลายเป็นที่นอน และด้วยความหนาแน่นของฟองน้ำจึงส่งผลให้การยุบตัวของที่นอนน้อย มีความยืดหยุ่นต่ำ ไม่มีแรงต้านเพื่อตอบรับกับสรีระ แต่ไม่แข็งจนเกินไปเมื่อเทียบกับที่นอนใยมะพร้าว

ข้อดีของที่นอนฟองน้ำอัด

  • เนื้อสัมผัสของที่นอนแน่นพอดี ไม่นิ่มจนเกินไปเหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบนอนที่นอนนิ่ม
  • ราคาไม่สูง
  • มีน้ำหนักที่เบาทำความสะอาดง่าย

ข้อเสียของที่นอนฟองน้ำอัด

  • หากเปียกน้ำ ที่นอนจะดูดซึมน้ำเร็ว อาจก่อให้เกิดความชื้นได้
  • เมื่อใช้ไปในระยะเวลานาน ที่นอนจะยุบตัว ส่งผลให้มีโอกาสปวดหลังตามมาได้
ภาพ: ที่นอนฟองน้ำอัด
ภาพ: ที่นอนฟองน้ำอัด

ที่นอนสปริง 

ที่นอนสปริง มีความยืดหยุ่นสูง ยุบตัวคืนตัวได้ดี ให้ความรู้สึกนุ่มเด้ง โดยลักษณะเหล่านีเกิดขึ้นจากสปริงที่อยู่ภายในที่นอน ซึ่งที่นอนสปริงมีด้วยกันหลายประเภทแบ่งตามรูปแบบดังนี้

  1. ที่นอนสปริงแบบบอนแนลล์ (Bonnel Spring) ใช้รูปแบบสปริงนาฬิกาทราย  มีความยืดหยุ่นสูง รองรับน้ำหนักได้ดี แต่ข้อเสียคือ เมื่อใช้ไปในระยะเวลานาน สปริงจะล้มง่ายส่งผลให้เกิดเสียงเสียดสีตามมาในภายหลัง
ภาพ: ที่นอนสปริงแบบบอนแนลล์
ภาพ: ที่นอนสปริงแบบบอนแนลล์

ที่นอนสปริงแบบออฟเซ็ท (Offset Spring) คือ ที่นอนที่พัฒนามาจากที่นอนสปริงแบบบอนแนลล์ โดยเพิ่มความแข็งแรงให้กับสปริงมากขึ้น ส่งผลให้ช่วยลดเสียงเสียดสีที่เกิดขึ้น แต่ด้วยความแข็งแรงของที่นอน ส่งผลให้มีความยืดหยุ่นต่ำ และไม่รองรับกับสรีระของผู้นอนเท่าที่ควร

ที่นอนสปริงแบบออฟเซ็ท (Offset Spring) คือ ที่นอนที่พัฒนามาจากที่นอนสปริงแบบบอนแนลล์ โดยเพิ่มความแข็งแรงให้กับสปริงมากขึ้น ส่งผลให้ช่วยลดเสียงเสียดสีที่เกิดขึ้น แต่ด้วยความแข็งแรงของที่นอน ส่งผลให้มีความยืดหยุ่นต่ำ และไม่รองรับกับสรีระของผู้นอนเท่าที่ควร

ภาพ: ที่นอนแบบออฟเซ็ทสปริง
ภาพ: ที่นอนแบบออฟเซ็ทสปริง

ที่นอนสปริงแบบพ็อกเก็ต (Pocket Spring) มีความแตกต่างจากที่นอนสปริงที่สองแบบข้างต้นคือ การเพิ่มถุงผ้าภายในที่นอน เพื่อช่วยให้สปริงทำงานได้ดีขึ้น โดยเพิ่มความยืดหยุ่นและรองรับสรีระของผู้นอนได้ดีขึ้น

ภาพ: ที่นอนแบบพ็อกเก็ตสปริง
ภาพ: ที่นอนแบบพ็อกเก็ตสปริง

ข้อดีของที่นอนสปริง

  • มีความยืดหยุ่นสูง รองรับน้ำหนักได้ดี
  • น้ำหนักเบา ทำความสะอาดสะดวกสบาย
  • ราคาไม่สูง

ข้อเสียของที่นอนสปริง

  • หากใช้ไปในระยะเวลานานจะเกิดการยุบตัวของสปริง ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนเวลานอน

ที่นอนใยมะพร้าว

สำหรับที่นอนใยมะพร้าว ทำมาจากกากใยมะพร้าวขึ้นรูปจากกาว จากนั้นจึงอัดแน่นจนกลายเป็นรูปที่นอน โดยคุณลักษณะของที่นอนใยมะพร้าวจะมีความหนาแน่นค่อนข้างสูง ผิวสัมผัสแข็งกระด้างและมีความยืดหยุ่นต่ำ

ข้อดีของที่นอนใยมะพร้าว

  • มีความแข็งแรง ยุบตัวยาก ไม่เสียทรงง่าย ลดปัญหาที่นอนยวบ
  • มีน้ำหนักเบา ทำความสะอาดง่าย

ข้อเสียของที่นอนใยมะพร้าว

  • เมื่อเสื่อมสภาพ ใยมะพร้าวจะหลุดส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องความสะอาดตามมา
  • ไม่มีช่องระบายอากาศ และลักษณะการอัดตัวของใยมะพราว ซึ่งทีพื้นที่ว่างระหว่างเส้น ส่งผลให้เป็นที่สะสมของไรฝุ่น
ภาพ: ที่นอนใยมะพร้าว
ภาพ: ที่นอนใยมะพร้าว

ที่นอนเมมโมรี่โฟม

ที่นอนเมมโมรี่โฟม (memory foam) คือโฟมที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ โดยลักษณะสำคัญของที่นอนชนิดนี้คือ ความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับลักษณะของพื้นผิวได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนอนแล้วที่นอนจะยุบตัวตามสรีระ และเมื่อปรับท่านอน ลักษณะที่ที่นอนก็จะเปลี่ยนตามไป จึงเป็นที่มาของชื่อ เมมโมรี่โฟม

ภาพ: ตัวอย่างการทำงานของเมมโมรี่โฟม
ภาพ: ตัวอย่างการทำงานของเมมโมรี่โฟม

ข้อดีของที่นอนเมมโมรี่โฟม

  • มีความยืดหยุ่นสูง
  • รองรับสรีระผู้นอนได้ดี
  • กระจายแรงกดทับได้ดี
  • ป้องกันไรฝุ่น

ข้อเสียของที่นอนเมมโมรี่โฟม

  • ไม่มีรูระบายอากาศ ส่งผลให้ร้อนเวลานอน
  • มีกลิ่นจากสารเคมี

วิธีเลือกที่นอน

1. เลือกขนาดที่นอน (ตามขนาดลำตัว)

ที่นอนขนาด Single Size

Single Size คือที่นอนขนาด 3 ฟุต (กว้าง 105 เซนติเมตร ยาว 198 เซนติเมตร) เหมาะสำหรับคนนอนแค่คนเดียว เนื่องจากความกว้างมีไม่มากพอ สำหรับการนอนสองคน

ที่นอนขนาด Queen Size

Queen Size คือที่นอนขนาด 5 ฟุต (กว้าง 150 เซนติเมตร ยาว 198 เซนติเมตร) เหมาะสำหรับการนอน 1-2 คน

ที่นอนขนาด King Size 

King Size คือที่นอนขนาด 6 ฟุต (กว้าง 180 เซนติเมตร ยาว 198 เซนติเมตร) สามารถนอนได้ 2-3 คน

2. เลือกที่นอนกับขนาดของห้อง

การเลือกขนาดของที่นอนควรเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดข้องห้อง เช่น หากคุณอาศัยในคอนโดขนาดเล็ก การเลือกใช้ที่นอนขนาด King Size อาจเป็นการใช้พื้นที่มากเกินไป จนเบียดเบียนเฟอร์นิเจอร์อย่างอื่น เช่น โต๊ะทำงาน, ตู้เสื้อผ้า

ถ้าหากอาศัยอยู่คนเดียวหรือมีห้องนอนหลักเพียงห้องเดียวอาจใช้เป็นที่นอน Single Size เพื่อความเหมาะสมกว่า

ภาพ: การเลือกใช้ที่นอน Single Size กับห้องขนาดเล็ก
ภาพ: การเลือกใช้ที่นอน Single Size กับห้องขนาดเล็ก

3. เลือกที่นอนให้เหมาะกับวัย

 

ผู้สูงอายุ

ที่นอนสูงอายุ ควรเลือกฟูกที่ค่อนข้างแข็งและหนา โดยความสูงของที่นอนไม่ควรสูงเกินไป ทั้งนี้การเลือกที่นอนสำหรับผู้สูงอายุ ควรเลือกที่นอนที่มีความกว้างมากพอให้พลิกตัวได้ อย่างที่นอนขนาด Queen Size ขึ้นไป

เด็กอ่อน

ที่นอนที่เหมาะสำหรับเด็กอ่อน ควรเป็นที่นอนเด็กอ่อนโดยเฉพาะ ต้องที่กั้นเพื่อป้องกันเด็กตก แต่ทั้งนี้ที่กั้นไม่ควรมีช่องว่างเนื่องจากมีโอกาสที่ศีรษะของเด็กจะเข้าไปติดในช่องว่างได้

4. เลือกที่นอนจากน้ำหนัก

ที่นอนที่ดีไม่ควรนิ่มและแข็งจนเกินไป แต่ควรจะเลือกที่นอนจากน้ำหนักตัวผู้ใช้งาน โดยการเลือกที่นอนจากน้ำหนักสามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้ เช่น คนที่มีน้ำหนักมาก รูปร่างใหญ่ จะเหมาะกับที่นอนที่มีความหนาแน่นสูง เพื่อรองรับน้ำหนัก ป้องกันการยุบตัวของที่นอน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลัง

ภาพ: ที่นอนสปริง Synda ช่วยรับน้ำหนักได้ดี

5. เลือกจากค่าความหนาแน่น

สำหรับค่าความหนาแน่นของที่นอน (Density) จะเกี่ยวข้องต่อกับการรับน้ำหนักของผู้ใช้ ยิ่งค่าความหนาแน่นมากจะสามารถรับน้ำหนักได้มาก ซึ่งค่าความหนาแน่นจะเริ่มต้นตั้งแต่ 70-110 KG/m3

ภาพ: ที่นอนยางพารา Lalabed มีความหนาแน่นสูง

ข้อแนะนำ

สำหรับการเลือกใช้ที่นอนของผู้สูงอายุควรมีค่าความหนาแน่น ระหว่าง 100-110 KG/m3 จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้

6. เลือกจากการใช้งาน

การใช้งานในที่นี้จะให้ความสำคัญที่จำนวนผู้นอน หากบ้านไหนที่นอนด้วยกันหลายคนบนที่นอนอันเดียว ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนแบบสปริง มาใช้ที่นอนยางพาราแทน เพื่อลดการเกิดเสียงเวลาพลิกตัว อันเป็นหนึ่งในสาเหตุที่รบกวนการนอนหลับของคนข้างๆ

สรุป

การเลือกที่นอนที่ดีควรพิจารณาจากความเหมาะสมหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักตัว, ขนาดของห้อง จนไปถึงอายุของผู้ใช้งาน นอกจากนี้การเลือกที่นอน ราคาก็เป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบโปรโมชั่นด้วย เพราะที่นอนเป็นหนึ่งในเฟอร์นิเจอร์ที่ลดราคาค่อนข้างบ่อย หากจังหวะดีสามารถประหยัดค่าที่นอนได้เป็นหมื่น

แต่ถ้าหากไม่รู้ว่าจะตรวจสอบราคาที่นอนได้จากไหน NocNoc.com ได้รวบรวมที่นอนไว้เพียบ ประหยัดทั้งเวลาและค่าเดินทาง คุ้มค่าคุ้มราคา และ  NocNoc.com เราพร้อมเป็นตัวช่วยเรื่องแต่งบ้านเปลี่ยนความฝันให้เป็นความจริง

แต่งบ้านได้สุดอย่างฝันที่ NocNoc.com

บทความที่เกี่ยวข้อง