-
Others
-
Home repair
-
Tips&Tricks
-
Knowledge
หน้าฝนนี้ไม่กลัวน้ำรั่ว! ทำกันซึมดาดฟ้าระบบไหนดีให้ใช้งานได้ยาวนาน
-
โพสต์เมื่อ 29 Jun 2022
-
โดย NocNoc Writer
-
41
Key Takeaways
- ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมเกิดจากการทำกันซึมดาดฟ้าแบบไม่ได้มาตรฐาน แถมยังต้องเจอกับทั้งสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้พื้นผิวแตกร้าว จนน้ำและความชื้นซึมผ่านเข้าไปได้
- ซีเมนต์และอะคริลิกกันซึม ถือเป็นระบบกันซึมดาดฟ้าที่ทั้งสะดวกและมีคุณภาพสูง แถมยังใช้งานง่าย และหากเสริมด้วยวัสดุอื่น ๆ ก็จะยิ่งปกป้องดาดฟ้าจากน้ำฝนและความชื้นได้ดีมากขึ้น
ดาดฟ้าเป็นอีกพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศแบบต่าง ๆ แถมคนรุ่นใหม่ก็นิยมใช้ดาดฟ้าเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือปลูกผักสวนครัว ทำให้พื้นผิวดาดฟ้าต้องเผชิญกับการใช้งานหนัก บวกกับอากาศที่เปลี่ยนแปลง เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก หากเป็นพื้นปูนซีเมนต์ทั่วไปก็อาจลอกล่อนเสียหาย ส่งผลให้เกิดการรั่วซึมตามมาได้ การทำกันซึมดาดฟ้าจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยปกป้องดาดฟ้าที่บ้านและโครงสร้างบ้านให้ปลอดภัย แต่ระบบกันซึมดาดฟ้าแบบไหนถึงจะเหมาะกับบ้านเรามากที่สุดนั้น NocNoc มีคำตอบมาฝากกันแล้ว!
ระบบกันซึมดาดฟ้า ควรเลือกแบบไหนดี?
ภาพ: การทำกันซึมดาดฟ้าด้วยแผ่นเมมเบรน
1. ใช้แผ่นเมมเบรนในการทำกันซึม
การใช้แผ่นเมมเบรนทำกันซึมดาดฟ้า มีให้เลือกทั้งแบบพีวีซี (PVC) และบิทูเทนเมมเบรน (Bituthene Membrane) ซึ่งการทำกันซึมแบบนี้มีราคาค่อนข้างถูก แต่มีขั้นตอนการทำที่ซับซ้อน ใช้อุปกรณ์เยอะ เพราะต้องเป่าลมร้อนให้แผ่นเมมเบรนติดกับพื้นผิวดาดฟ้า และมักจะมีปัญหาตามรอยต่อของแผ่นเมมเบรน เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็มีโอกาสรั่วซึมอยู่ดี ถึงจะมีราคาถูกแต่ก็ไม่คุ้มกับการลงทุนเท่าไรนัก
ข้อดี: กันน้ำได้ดี ราคาถูก
ข้อเสีย: มีสีสันให้เลือกน้อย ติดตั้งยาก ไม่สามารถตกแต่งด้วยวัสดุอื่นทับได้ ติดไฟได้ง่าย เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็ส่งผลกระทบต่อพื้นผิวคอนกรีต
ภาพ: การทากันซึมดาดฟ้า
2. ทากันซึมดาดฟ้าด้วยซีเมนต์หรืออะคริลิกกันซึม
ซีเมนต์กันซึมหรืออะคริลิกกันซึม เป็นระบบกันซึมดาดฟ้ายุคใหม่ ที่ใช้ปูนซีเมนต์หรืออะคริลิกสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมพิเศษที่ช่วยป้องกันน้ำซึมผ่าน นำมาทาที่พื้นผิวดาดฟ้า จากนั้นจะทาสี ปูกระเบื้อง หรือปล่อยเปลือยไว้ ก็เลือกได้ตามที่ต้องการ
โดยซีเมนต์และอะคริลิกกันซึมรุ่นใหม่ ๆ ก็มักจะใช้งานง่าย เพียงผสมน้ำ หรือเปิดฝา แล้วใช้แปรงหรือลูกกลิ้งทาได้เลย จึงทำให้ได้กันซึมดาดฟ้าที่มีมาตรฐาน อายุการใช้งานยาวนาน ช่วยปกป้องดาดฟ้าและโครงสร้างบ้านจากปัญหารั่วซึมได้อย่างอยู่หมัด
ข้อดี: ใช้งานง่าย กันซึมได้ทั่วทุกจุด ทนต่อน้ำ ความชื้น และสภาพอากาศต่าง ๆ และยังช่วยปิดรอยแตกลายงา ช่วยให้พื้นดาดฟ้าเรียบเนียน ทนต่อแรงเสียดสี
ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับพื้นผิวที่แตกร้าวเป็นหลุม ควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนทากันซึม
แล้วระบบกันซึมดาดฟ้าทั้งสองแบบนี้คืออะไร มีข้อดีอะไรบ้าง แล้วจะต้องใช้งานอย่างไร NocNoc มีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับวัสดุทั้งสองชนิดนี้มาฝากกันแล้ว ไปดูกันได้เลย!
รู้จักกับการทำกันซึมดาดฟ้าด้วยซีเมนต์และอะคริลิกทากันซึม
1. ซีเมนต์ทากันซึม
อยากได้วัสดุที่ทั้งกันซึมและช่วยตกแต่งดาดฟ้าไปพร้อม ๆ กัน ซีเมนต์ทากันซึมดาดฟ้าถือเป็นวัสดุที่ตอบโจทย์มาก เพราะเป็นปูนซีเมนต์ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการรั่วซึมโดยเฉพาะ มักจะมาพร้อมส่วนผสมพิเศษที่เพิ่มความแข็งแรง ป้องกันน้ำและความชื้นซึมผ่าน และที่บอกว่าตกแต่งดาดฟ้าได้ตามใจ เพราะซีเมนต์กันซึมมักจะมีสีให้เลือกหลายสี เช่น สีขาว สีเทา สีเขียว สีดำ หรือสีฟ้า จึงปล่อยเปลือยไว้ได้เลย แต่ถ้าอยากทาสีหรือปูกระเบื้องก็ทำได้เช่นกัน โดยยังคงกันการรั่วซึมได้ดี
จุดเด่นของซีเมนต์ทากันซึมดาดฟ้า
- ยึดเกาะสูง ทนแรงดันน้ำ ทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงรังสี UV
- ช่วยปกปิดรอยร้าวขนาดเล็กที่อยู่บนดาดฟ้า (หากเป็นรอยร้าวขนาดใหญ่ควรซ่อมแซมก่อน)
- ปล่อยเปลือยได้ หรือจะทาสีหรือปูกระเบื้องทับก็ได้เช่นกัน
วิธีใช้งานซีเมนต์กันซึมเบื้องต้น
ภาพ: การทาซีเมนต์กันซึมบริเวณรอยต่อ
- เตรียมพื้น ซ่อมแซมรอยแตกร้าวใหญ่ ๆ แล้วทำความสะอาดพื้นให้สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรก เพื่อให้ซีเมนต์ยึดเกาะพื้นผิวได้เต็มที่ ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
- ผสมซีเมนต์ ซีเมนต์กันซึมดาดฟ้ารุ่นใหม่ ๆ นั้นพัฒนาให้ใช้งานง่าย ผสมน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดได้เลย แล้วคนให้เข้ากันหรือจะใช้เครื่องผสมช่วยก็ได้
- ใช้ลูกกลิ้งทา ใช้ลูกกลิ้งหรือแปรงทาซีเมนต์กันซึมลงบนพื้นได้เลยทันที โดยควรทา 2 รอบ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด จากนั้นก็ปล่อยให้แห้งตามเวลาที่กำหนด แล้วก็ตกแต่งดาดฟ้าหรือเปิดใช้งานได้เลยทันที
2. อะคริลิกทากันซึม
ถ้าอยากได้ระบบกันซึมดาดฟ้าที่ใช้ง่ายแบบสุด ๆ มาแบบสำเร็จรูปพร้อมใช้งานได้เลยทันที ต้องนี่เลยอะคริลิกทากันซึม เป็นอะคริลิกสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับทากันซึมโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับดาดฟ้าและหลังคาบ้าน เมื่อแห้งตัวจะทำหน้าที่เหมือนแผ่นฟิล์มบาง ๆ เคลือบพื้นผิวเอาไว้ ช่วยป้องกันน้ำและความชื้นซึมผ่าน แถมยังยืดหยุ่นสูงจึงไม่มีรอยต่อ และช่วยปิดรอยแตกลายงาได้ด้วย ไม่ว่าจะแรงเสียดสีจากการสัญจร รังสี UV หรืออากาศแบบไหนก็ทนได้หมด
จุดเด่นของอะคริลิกทากันซึมดาดฟ้า
- ใช้งานง่าย เพราะเป็นอะคริลิกสำเร็จรูปจึงเปิดฝาใช้ได้เลยทันที
- ยืดหยุ่นสูงมาก ช่วยปกปิดรอยแตกลายงา หรือรอยแตกเส้นเล็ก ๆ
- ใช้ได้กับพื้นผิวหลายแบบแห้งเร็ว เปิดใช้งานได้เร็ว หรือจะทาสีทับก็ได้เลย
วิธีใช้งานอะคริลิกกันซึมเบื้องต้น
- เตรียมพื้น ทำความสะอาดพื้นผิวให้แห้งสนิทเสียก่อน และต้องทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ถ้ากันซึมเดิมเสื่อมสภาพก็ควรขูดออกให้หมดด้วย
- ผสมน้ำทารองพื้น ถ้าพื้นเดิมไม่เรียบเนียน ให้ผสมอะคริลิกกันซึมกับน้ำประมาณ 5-10% แล้วทาเป็นรองพื้นชั้นแรกก่อน แล้วปล่อยไว้ให้แห้ง
- ใช้ลูกกลิ้งทา เมื่อชั้นรองพื้นแห้งแล้ว ก็ใช้ลูกกลิ้งหรือแปรงทาอะคริลิกกันซึมทาทับได้เลย โดยทาทั้งหมด 2 รอบ เว้นระยะเวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ปล่อยให้แห้งแล้วทาสีทับหรือเปิดใช้ได้เลยทันที
แต่เพราะดาดฟ้าที่บ้านเป็นพื้นที่ที่ใช้งานกันมานาน อาจจะมีบางส่วนที่แตกร้าวเสียหาย หากจะทำกันซึมดาดฟ้ากันใหม่ จึงควรใช้วัสดุที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับพื้นดาดฟ้าเพิ่มเติมด้วย แต่ควรจะเลือกใช้อะไรบ้างนั้น NocNoc มีมาแนะนำกันแล้ว!
วัสดุเพิ่มความแข็งแรงให้กับการทำกันซึมดาดฟ้า
1. ซีเมนต์ซ่อมแซมสำหรับซ่อมพื้นผิวก่อนทำกันซึม
รอยแตกร้าว รอยบิ่น เป็นหลุม ถ้าทาซีเมนต์หรืออะคริลิกกันซึมดาดฟ้าทับลงไปเลย อาจจะปิดความเสียหายได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงควรใช้ซีเมนต์ซ่อมแซมกันเสียก่อน โดยควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่รับแรงกดอัดได้สูง ใช้งานได้สะดวก ยึดเกาะได้ดี เพื่อให้ซ่อมออกมาแล้วไม่กลับมาเป็นซ้ำ ทำให้ระบบกันซึมดาดฟ้าทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
2. ตาข่ายใยแก้วเสริมกำลัง เสริมพลังกันซึมอีกขั้น
เสริมแรงดึงในระบบกันซึมดาดฟ้า ช่วยเพิ่มแรงยึดเกาะให้ดีกว่าเดิม ป้องกันการแตกร้าวจากแรงเสียดสีจากการสัญจรด้วยตาข่ายไฟเบอร์ ซึ่งทำจากไฟเบอร์กลาส บางรุ่นอาจเคลือบด้วยโพลีเมอร์เพื่อให้กันน้ำได้ดียิ่งขึ้น ใช้ปูก่อนทากันซึม ปูบริเวณขอบมุมต่าง ๆ หรือปูตรงจุดที่เสี่ยงต่อการแตกร้าว ทำให้เมื่อทากันซึมแล้วก็จะทนทานมากขึ้น
3. โพลียูรีเทนอุดรอยต่อ เก็บงานบริเวณรอยต่อ
สุดท้ายเป็นการเก็บรายละเอียดปิดท้ายส่วนขอบมุมระหว่างพื้นกับผนัง ซึ่งมีโอกาสรั่วซึมง่ายกว่าพื้นดาดฟ้า ควรใช้โพลียูรีเทนอุดรอยต่อซึ่งผลิตมาให้ใช้กับผิวคอนกรีตโดยเฉพาะ และเพื่อให้ใช้ได้ง่ายขึ้น ก็ควรเลือกแบบสำเร็จรูปที่แค่ตัดฝา ใส่หลอดเข้าในปืนยิง และยิงตามแนวรอยต่อได้เลย จะช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น กันซึมได้ทั่วทุกจุด และตกแต่งส่วนอื่น ๆ ต่อไปได้เลย
ไม่ว่าหน้าฝนหรือฤดูกาลไหน ๆ ก็อย่าลืมทำกันซึมดาดฟ้าเอาไว้ให้ดี เพื่อเตรียมดาดฟ้าให้พร้อมรับสภาพอากาศต่าง ๆ ทั้งความร้อน รังสี UV จากแสงแดด ฝนตก พายุ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อดาดฟ้า และหากรั่วซึมหนัก ๆ ก็ทำให้โครงสร้างบ้านทั้งหลังเสียหายได้เลยทีเดียว สำหรับใครที่กำลังหาช่างมาติดตั้งระบบกันซึมดาดฟ้าให้ได้มาตรฐาน คลิกเข้ามาได้เลยที่ NocNoc เราได้รวบรวมช่างมากฝีมือที่มีประสบการณ์ ไว้รอทุกคนมาเลือกไปปรับปรุงบ้านให้เป็นบ้านในฝัน แถมยังเป็นช่างที่ไว้ใจได้ ปลอดภัยจากปัญหาช่างทิ้งงาน ชำระเงินง่ายหลังงานเสร็จผ่าน QR Code, Internet Banking หรือบัตรเครดิต พร้อมทีมงาน NocNoc คอยให้ความช่วยเหลือ แรงบันดาลจริงให้บ้านคุณที่ NocNoc
“
97
-
Tips&Tricks
เคล็ดลับเลือกกระเบื้องปูพื้นบ้าน พร้อม 8 แบรนด์กระเบื้องคุณภาพ
โพสต์เมื่อ 18 Feb 2019
92
-
Knowledge
5 วัสดุปูพื้นในบ้านราคาหลักร้อย
โพสต์เมื่อ 29 Jan 2019
90
-
Home repair
-
+1
คนชอบแต่งบ้านอย่าพลาด! 10 ไอเดียพื้นลามิเนตสีเทา เปลี่ยนบ้านให้โมเดิร์นทันสมัยกว่าที่เคย
โพสต์เมื่อ 03 Mar 2022
87
-
Others
-
+1
มาทำความรู้จักกับ ประตู uPVC ว่าคืออะไรและมีข้อดียังไงบ้าง
โพสต์เมื่อ 20 Oct 2022
82
-
Tips&Tricks
-
+2
ไอเดียปูกระเบื้องระเบียงหน้าบ้านสวย ๆ
โพสต์เมื่อ 21 May 2021