• Others

  • Home repair

  • Tips&Tricks

  • Knowledge

หน้าฝนนี้ปลอดภัยชัวร์! ด้วย 5 วิธีป้องกันไฟดูด เตรียมเครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ปลอดภัย

  • โดย NocNoc Writer

  • 42

Key Takeaways

  • ใครเคยโดนไฟดูดตอนเสียบปลั๊กกันบ้าง? เจ็บจี๊ดไปทั่วร่างกายเลยทีเดียว เพราะไฟดูดเกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดทำให้เกิดไฟรั่ว เมื่อไปสัมผัสโดนก็ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อร่างกายเปียกชื้น หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่เสมอ ไปจนถึงเลือกอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และติดตั้งระบบสายดินเพื่อความปลอดภัย ถือเป็นวิธีป้องกันไฟดูดที่ทำได้ง่าย ๆ แถมยังเป็นส่วนช่วยป้องกันไฟไหม้ได้อีกด้วย

พอเข้าสู่ช่วงหน้าฝน แน่นอนว่าเป็นฤดูที่เต็มไปด้วยน้ำและความเปียกชื้น เหตุการณ์อันตรายยอดฮิตที่มักเกิดขึ้นในบ้านคงหนีไม่พ้นไฟดูด ซึ่งเกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด ไม่ได้รับการซ่อมแซม ทำให้เกิดไฟรั่ว เมื่อเจอกับน้ำที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อไปสัมผัสโดนก็ทำให้ไฟดูดได้ง่าย ๆ นอกจากจะทำให้บาดเจ็บตามร่างกายแล้ว ก็ยังส่งผลถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว และเพื่อให้สมาชิกทุกคนในบ้านปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด NocNoc มีความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูด และวิธีป้องกันไฟดูดภายในบ้านมาเป็นแนวทางป้องกันให้กับทุกคนกันแล้วในวันนี้

ไฟดูดเกิดจากอะไร?

ภาพ: การหมดสติจากไฟดูด

ไฟดูดเกิดจากการที่ร่างกายสัมผัสกับพื้นที่ที่มีไฟฟ้ารั่ว เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือปลั๊กไฟที่เสียหาย ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับระดับกระแสไฟฟ้า และบริเวณที่กระสไฟฟ้าไหลผ่าน ดังนั้นถ้าเจอผู้ถูกไฟดูดก็ควรรักษาพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี และส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อป้องกันการเสียชีวิตนั่นเอง สำหรับอาการที่อาจเจอ NocNoc มีมาฝากกันแล้ว

ไฟดูดกับไฟช็อตต่างกันอย่างไร?

ภาพ: ไฟไหม้จากไฟช็อต

ไฟดูดจะเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่รั่วออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียหาย ทำให้ไฟฟ้าไหลลงสู่พื้นดิน เมื่อไปสัมผัสโดนก็ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ 

อาการไฟดูด: เจ็บกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อกระตุก อาการชา สับสน หมดสติ หัวใจเต้นผิดปกติ ไปจนถึงหัวใจหยุดเต้น

ไฟช็อตจะเกิดจากกระแสไฟฟ้าจากสายไฟที่ฉนวนชำรุดไหลไปยังอีกเส้นหนึ่งโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ เลยก็ได้ ทำให้เกิดประกายไฟและไฟไหม้ขึ้นมา และถ้าสัมผัสโดก็ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน

อาการไฟช็อต: เกิดแผลไหม้ที่ผิวหนัง เกิดอาการชา อาการชัก ปวดศีรษะ หมดสติ ชีพจรเต้นผิดจังหวะหรือเต้นอ่อนลง และภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

ได้รู้จักกับสาเหตุของไฟดูดกันไปมากขึ้นแล้ว เพื่อลดความสูญเสียจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นกับคนในบ้าน NocNoc จึงมี 5 วิธีป้องกันไฟดูดง่าย ๆ ที่จะช่วยปกป้องสมาชิกในครอบครัวมาฝากกัน ไม่ว่าหน้าฝนหรือฤดูไหน ๆ ก็ปลอดภัยอย่างแน่นอน!

5 วิธีป้องกันไฟดูดง่าย ๆ ปกป้องทุกคนในบ้านให้ปลอดภัย

1. ไม่ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะร่างกายเปียกชื้น

ภาพ: การเสียบปลั๊กตอนมือเปียก

เพราะน้ำอาจเป็นตัวนำไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายได้ เราจึงไม่ควรใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตอนที่มือเปียก หรือร่างกายเปียกชื้นโดยเด็ดขาด รวมถึงไม่ควรยืนบนที่ชื้นแฉะตอนใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกอยู่ก็ไม่ควรใช้งานเช่นกัน เพราะถ้ามีไฟรั่วก็จะทำให้ไฟดูดได้นั่นเอง

2. หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่เสมอ

ภาพ: สายไฟเสียหาย

สายไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด ทั้งโดนของมีคมบาด ของหนักทับ ฉนวนแห้งกรอบ บวม แตก หรือชำรุดจากโดยหนูหรือแมลงกัด ต่างก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟรั่ว และถ้าไปสัมผัสโดนก็ทำให้ไฟดูดได้ ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสายไฟ ปลั๊กไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งภายในและภายนอกบ้านอยู่เสมอ หากพบจุดไหนที่ชำรุด ควรเรียกช่างไฟมาซ่อมโดยทันที สำหรับวิธีเช็คระบบไฟง่าย ๆ เบื้องต้น NocNoc มีมาฝากกัน

2.1 ตรวจมิเตอร์ไฟฟ้า ถอดปลั๊ก ปิดสวิตช์ไฟ และปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นในบ้าน แล้วตรวจดูมิเตอร์ไฟว่ายังหมุนอยู่หรือไม่ ถ้าหมุนอยู่แปลว่ามีไฟรั่วอย่างแน่นอน ควรเรียกช่างมาตรวจสอบและซ่อมแซมโดยเร็ว 

2.2 เช็คสายไฟ ตรวจดูสายไฟทุกจุด ว่าชำรุดเสียหายตรงไหนหรือไม่ โดยอย่าลืมตรวจดูสายไฟที่ซ่อนไว้บนเพดาน เพราะตรงจุดนี้อาจมีหนูหรือสัตว์อื่น ๆ มาแทะจนฉนวนขาด จนทำให้เราโดนไฟดูดโดยไม่รู้ตัวได้

2.3 เช็คเต้าเสียบ ตรวจดูว่าเต้าเสียบปลั๊กมีรอยไหม้ รอยแตกร้าว หรือเต้าเสียบหลวมหรือไม่ ถ้าพบว่าหลวมควรไขให้แน่น แต่ถ้าเสียหายในรูปแบบอื่น ๆ ควรเรียช่างมาเปลี่ยนเสียใหม่ เพื่อป้องกันไฟรั่วในอนาคต

3. หลีกเลี่ยงการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเอง

ภาพ: ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า

แน่นอนว่าการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง และใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ดังนั้นเราจึงไม่ควรซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเองโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ไฟดูดและเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว ควรเรียกช่างเฉพาะทางมาซ่อมแซมให้จะดีเสียกว่า

4. หลีกเลี่ยงการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน มอก.

นอกจากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง และการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านแล้ว การป้องกันไฟดูดยังทำได้ตั้งแต่การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย โดยควรเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ ปลั๊กพ่วง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมอก. ไม่ควรเลือกเฉพาะอุปกรณ์ที่มีราคาถูกเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อทุกคน และยังป้องกันไฟไหม้ในบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย

5. ติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน

สายดินถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการป้องกันไฟรั่ว วิธีป้องกันไฟดูดวิธีสุดท้ายที่ NocNoc นำมาฝากกันในวันนี้จึงเป็นการติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน เพราะหากเกิดไฟรั่วในบ้าน แทนที่กระแสไฟจะไหลผ่านร่างกาย การต่อสายดินเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าจะช่วยนำกระแสไฟฟ้าลงสู่พื้นดิน โดยส่วนใหญ่การต่อสายดินจะเห็นได้บ่อยในการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำโดยตรง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้นั่นเอง

รู้สาเหตุแล้ว รู้วิธีป้องกันแล้ว ก็ควรรู้ด้วยว่าจะต้องช่วยเหลือคนถูกไฟดูดอย่างไรให้ถูกวิธี ตาม NocNoc ไปดูกันต่อได้เลยว่าวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง แถมยังปลอดภัยต่อตัวเราจะต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันได้เลย!

3 เทคนิคการช่วยเหลือ หากเจอคนถูกไฟดูด

1. หาจุดที่มีไฟรั่วแล้วตัดวงจรก่อนช่วยเหลือ

ภาพ: ดึงคัทเอาท์เพื่อตัดวงจรไฟฟ้า

ก่อนเข้าไปช่วยคนที่ถูกไฟดูด เราควรดูก่อนว่าบริเวณนั้นยังมีจุดไหนที่มีไฟรั่วอยู่หรือไม่ ดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออก หรือควรดึงคัทเอาท์ลงเพื่อตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้นเราอาจจะโดนไฟดูดตามไปด้วย ถ้ามีสายไฟพาดอยู่บนร่างกายของคนที่โดนไฟดูด ควรหาอุปกรณ์ที่ไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น ไม้ มาเขี่ยสายไฟออกไปก่อน และร่างกายเราก็ห้ามเปียกชื้น ควรยืนอยู่บนพื้นแห้ง อาจใช้ผ้าแห้งหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ปูพื้นก่อนเพื่อความปลอดภัย 

2. แยกผู้ที่โดนไฟดูดออกจากบริเวณที่มีไฟรั่ว

ภาพ: อันตรายจากไฟรั่ว

หลังจากสำรวจดูพื้นที่โดยรอบจนแน่ใจว่าปลอดภัยแล้ว ควรย้ายผู้ที่โดนไฟดูดออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือบริเวณที่มีไฟรั่ว และใช้ผ้าแห้งห่อบริเวณนั้นไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้อย่าลืมสำรวจดูด้วยว่ามีบาดแผลอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากอุบัติเหตุอื่น ๆ นอกจากไฟดูดหรือไม่

3. ตรวจชีพจร

ภาพ: การตรวจชีพจรที่ข้อมือ

เพราะกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่ร่างกายอาจไหลผ่านหัวใจ ทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ควรตรวจดูชีพจรของผู้ที่โดนไฟดูดว่าหัวใจยังเต้นอยู่หรือไม่ โดยคลำดูที่ข้อมือหรือลำคอ หากพบว่าไม่มีชีพจรแล้ว ควรทำ CPR หรือการนวดหัวใจโดยด่วน และควรทำอย่างต่อเนื่องจนกว่ารถพยาบาลมาถึง และรับการรักษาให้เร็วที่สุด

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 วิธีป้องกันไฟดูดด้วยการเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ปลอดภัยพร้อมรับหน้าฝนที่ NocNoc นำมาฝากกัน นอกจากจะช่วยป้องกันคนในบ้านให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดแล้ว ก็ยังช่วยป้องกันปัญหาไฟไหม้ได้อีกด้วย สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องใช้ไฟฟ้ามาตรฐาน มอก. คลิกเข้ามาได้เลยที่ NocNoc เราได้รวบรวมสินค้าคุณภาพ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและของแต่งบ้านหลายสไตล์ พร้อมให้ทุกคนช้อปกลับไปใช้กันที่บ้านได้อย่างมั่นใจ และถ้าอยากเตรียมระบบไฟที่บ้านให้พร้อม ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟรั่ว เราก็มีช่างไฟผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ พร้อมเดินระบบไฟในบ้านให้ปลอดภัย พร้อมติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ได้มาตรฐาน

สำหรับใครที่อยากแต่งบ้านหรือรีโนเวทบ้านกันใหม่ แต่ยังไม่มีไอเดียว่าจะเลือกใช้ของแต่บ้านแบบไหนดี ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน NocNoc กันมาได้เลย Inspiration Feed มีไอเดียสุดปังรอทุกคนอยู่เพียบ แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าชอบสไตล์ไหนฟีเจอร์ Your Style Quiz ก็พร้อมช่วยหาสไตล์ที่ตรงใจ แถมยังช้อปสินค้า NocNoc ได้เลยทันทีบนแอป เพื่อให้ทุกคนได้สร้างบ้านในฝันให้เป็นจริงได้ทุกที่ทุกเวลา

NocNoc Writer

กองบรรณาธิการ NocNoc ที่อยากถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับบ้าน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนสามารถสร้างบ้านในฝันให้เป็นจริง

บทความที่เกี่ยวข้อง