-
Others
-
Home repair
-
Tips&Tricks
-
Knowledge
ทำฝ้าทั้งทีไม่มีผิดหวัง! ด้วยข้อควรรู้ก่อนติดตั้งและรับงานฝ้าเพดาน
-
โพสต์เมื่อ 06 Sep 2022
-
โดย NocNoc Writer
-
109
Key Takeaways
- การทำฝ้าเพดานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในทุก ๆ บ้าน เพราะช่วยปกปิดงานระบบที่อยู่บนเพดาน แถมยังตกแต่งบ้านให้สวยสมบูรณ์แบบขึ้นด้วย แต่ก่อนจะติดตั้งฝ้าเพดาน อย่าลืมเช็กจุดรั่วซึม ระบบไฟ โครงสร้าง ดูความสูง และฉนวนความร้อน เพื่อให้ติดตั้งมาแล้ว ไม่ต้องซ่อมแซมกันในภายหลัง
- หลังจากทำฝ้าเพดานแล้ว ก่อนจะรับงานจากช่าง อย่าลืมตรวจดูคุณภาพอุปกรณ์ ดูจุดรั่วซึม ดูเรื่องความสูง ฝ้าเรียบได้ระดับหรือไม่ และต้องตรวจสอบการฉาบด้วยว่าเก็บงานเรียบร้อยพร้อมใช้งาน เพื่อจะได้ไม่ต้องซ่อมแซมเพิ่มเติมให้เสียเวลา
ฝ้าเพดานเป็นอีกจุดที่ต้องวางแพลนให้ดี โดยเฉพาะใครที่อยากรีโนเวทบ้านใหม่ก็คงอยากจะปรับให้ทันสมัยเข้ากับสไตล์ที่ชอบ หรือถ้าจะสร้างบ้านใหม่ก็ควรออกแบบให้ตรงใจ ก่อนจะทำฝ้าเพดานที่บ้านจึงอย่าลืมเช็กดูความพร้อมของบ้านเสียก่อน เพื่อให้เลือกติดตั้งฝ้าเพดานออกมาตอบโจทย์ ใช้งานกันได้อย่างยาวนาน และหลังจากที่ช่างติดตั้งเสร็จแล้ว ก็อย่าลืมตรวจสอบให้ดีก่อนรับงาน เพื่อป้องกันปัญหาคราบน้ำ คราบราดำ ไปจนถึงน้ำหยด ที่ชวนให้ปวดหัวแบบสุด ๆ แถมเสียเวลาและเงินซ่อมแซม วันนี้ NocNoc จึงมีเคล็ดลับที่จะช่วยให้ทุกคนติดตั้งฝ้าแล้วไม่ผิดหวังมาฝากกัน!
5 จุดที่ต้องเช็กก่อนทำฝ้าเพดาน เตรียมพร้อมไว้ไม่มีเสียหาย!
1. เช็กจุดรั่วซึมบนหลังคาและห้องน้ำชั้นบน
ภาพ: คราบราดำบนฝ้าเพดานจากหลังคารั่วซึม
“
“ตรวจสอบการรั่วซึม ป้องกันน้ำหยด คราบน้ำ คราบเชื้อรา”
“ตรวจสอบการรั่วซึม ป้องกันน้ำหยด คราบน้ำ คราบเชื้อรา”
ฝ้ามีน้ำหยด คราบน้ำ คราบเชื้อรา ปัญหาที่พบได้บ่อยมากบนฝ้าเพดาน นอกจากจะทำให้บ้านทรุดโทรมไม่น่าอยู่ ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพด้วย แน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากการรั่วซึมนั่นเอง ก่อนจะทำฝ้าเพดาน เราจึงต้องเช็กเรื่องรั่วซึมกันเสียก่อน
- บ้านชั้นเดียว หลังคาเป็นส่วนที่มีโอกาสรั่วซึมลงมามากที่สุด ก่อนติดตั้งฝ้าเพดาน จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ตรวจสอบดูหลังคาทั้งภายนอกและภายในว่ามีจุดไหนเสียหายหรือไม่ ทั้งวัสดุมุงหลังคา ตัวยึด และแนวหลังคา หากพบก็ควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย ก่อนทำฝ้าปิดโครงสร้างหลังคา
- บ้านสองชั้น ถ้าห้องน้ำชั้นบนรั่วซึม มีโอกาสที่น้ำจะซึมหรือหยดลงมาที่ฝ้าก่อนทำฝ้าเพดานจึงควรตรวจดูว่าในห้องน้ำมีจุดไหนรั่วซึมหรือไม่ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นท่อระบายน้ำ และสุขภัณฑ์ต่าง ๆ และบริเวณระบบประปาใต้ห้องน้ำ ซึ่งควรจะจัดการให้เรียบร้อย จะได้ไม่ต้องรื้อซ่อมแซมกันภายหลัง
2. เช็กระบบไฟ เก็บให้เรียบร้อย เพิ่มความปลอดภัย
ภาพ: การร้อยท่อสายไฟบนเพดาน
“
“ร้อยท่อให้เรียบร้อย ป้องกันสายไฟเสียหาย”
“ร้อยท่อให้เรียบร้อย ป้องกันสายไฟเสียหาย”
เวลาสร้างบ้านหรือปรับปรุงบ้านใหม่ ช่างส่วนใหญ่มักจะติดตั้งระบบไฟฟ้าไว้บนเพดาน แต่ก่อนจะทำฝ้าเพดาน ต้องเช็กก่อนว่าสายไฟต่าง ๆ มีท่อร้อยสายห่อหุ้มไว้หรือไม่ เพราะจะช่วยเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบ และยังป้องกันสัตว์ต่าง ๆ มาแทะสายไฟให้เสียหาย ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟรั่วหรือไฟลัดวงจรเพราะสายไฟขาดได้ด้วย นอกจากนี้อย่าลืมเช็กให้ดีว่ามีสายไฟตรงไหนเสียหายหรือไม่ หากพบก็ควรซ่อมแซมทันทีก่อนติดตั้งฝ้าเพดานปิดโครงสร้าง
3. ฉนวนความร้อน ติดตั้งพร้อมทำฝ้าได้เลย
“
“ฉนวนกันความร้อน ติดตั้งก่อนทำฝ้าเพดานได้เลย”
“ฉนวนกันความร้อน ติดตั้งก่อนทำฝ้าเพดานได้เลย”
เพราะการทำฝ้าเป็นขั้นตอนปิดโครงสร้างบนเพดานทั้งหมด ถ้าบ้านไหนร้อนมากเพราะยังไม่ได้ติดตั้งฉนวนกันความร้อน สามารถทำก่อนการติดตั้งฝ้าเพดานได้เลย เพราะถ้าติดตั้งฉนวนหลังทำฝ้าแล้วจะยุ่งยากกว่ามาก แต่ตำแหน่งของฉนวนกันความร้อนจะอยู่ใต้สายไฟ ดังนั้นที่สำคัญอย่าลืมร้อยสายไฟในท่อให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันสายไฟเสียหายจากการติดตั้งนั่นเอง
4. เช็กโครงคร่าวว่าได้มาตรฐานพร้อมติดตั้งฝ้าเพดานหรือไม่
ภาพ: โครงสร้างเพดานอาคาร
“
“โครงคร่าวต้องได้มาตรฐาน อยู่ในระยะที่เหมาะสม”
“โครงคร่าวต้องได้มาตรฐาน อยู่ในระยะที่เหมาะสม”
ก่อนจะติดตั้งฝ้าเพดาน ช่างจะต้องทำการติดตั้งโครงคร่าวเอาไว้ก่อน ซึ่งจะมีส่วนของโครงบนเป็นโครงคร่าวหลัก และโครงร่างเป็นโครงรอง ควรเช็กดูว่าวัสดุโครงคร่าวที่ช่างใช้นั้นได้รับมาตรฐานมอก. หรือไม่ และดูด้วยว่าระยะเหมาะสมแล้วหรือยัง โดยส่วนใหญ่โครงคร่าวหลักมักจะมีระยะ 1-1.2 เมตร ส่วนโครงคร่าวรองจะมีระยะ 0.4 เมตร การเช็กดูส่วนนี้จะช่วยป้องกันปัญหาทำฝ้าเพดานแล้วฝ้าแอ่นตัว ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องมารื้อซ่อมกันใหม่
5. เช็กความสูง
ภาพ: อุปกรณ์วัดระยะ
“
“ทำฝ้าเพดานให้สูงพอดี ภาพรวมไม่อึดอัด”
“ทำฝ้าเพดานให้สูงพอดี ภาพรวมไม่อึดอัด”
นอกจากการตรวจดูมาตรฐานของโครงคร่าวก่อนทำฝ้าเพดาน ต้องดูด้วยว่าความสูงที่กำหนดไว้นั้นอยู่ในระยะที่ออกแบบไว้หรือไม่ เพราะจะทำให้ภาพรวมของห้องออกมาไม่สวยงามเท่าที่ควร อาจจะเตี้ยเกินไปจนอึดอัด หรือสูงไปจนดูไม่พอดีกับพื้นที่ในห้อง ถึงการติดตั้งฝ้าเพดานเราจะเลือกความสูงได้ตามที่ต้องการ แต่ NocNoc มีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากว่าสูงเท่าไรถึงจะพอดี
- ที่อยู่อาศัยทั่วไปควรติดตั้งฝ้าเพดานที่สูงไม่ต่ำกว่า 2.6 เมตร ตามกฎหมายควบคุมอาคาร แต่ก็ปรับได้ตามขนาดพื้นที่ในห้อง คนส่วนใหญ่จึงนิยมทำฝ้าที่ความสูง 2.5-2.8 เมตร ซึ่งจะใช้ได้กับทุกห้องในบ้านเลย
- คนชอบบ้านโปร่ง ๆ ควรทำฝ้าเพดานที่ความสูงประมาณ 2.8-3.2 เมตร เพื่อให้บ้านดูโล่ง โปร่ง มองแล้วห้องกว้างสบายตา ความสูงนี้จะนิยมใช้ในห้องที่เน้นทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร ห้องอ่านหนังสือ แต่ไม่เหมาะกับห้องนอนเพราะทำให้เวลานอนรู้สึกเวิ้งว้างเกินไป
หลังจากเช็กดูส่วนต่าง ๆ ก่อนทำฝ้าเพดานแล้ว หลังจากช่างติดตั้งฝ้าเพดานเสร็จเรียบร้อย อย่าเพิ่งรับงานทันที ควรจะตรวจสอบดูอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาให้แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องดูตรงไหนบ้างตาม NocNoc มาดูกันได้เลย
ทำฝ้าเพดานแล้ว ก่อนรับงานต้องตรวจดูอะไรบ้าง?
1. ตรวจสอบภาพรวม เก็บงานเนี๊ยบเป๊ะแล้วหรือยัง
ภาพ: การทาสีตกแต่งฝ้าเพดาน
เมื่อช่างติดตั้งฝ้าเพดานเสร็จแล้ว ควรดูภาพรวมของงานก่อนว่าออกมาสวยงาม เก็บรายละเอียดครบหรือไม่ ไปจนถึงระยะห่างต่าง ๆ ที่จะต้องดูให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจจะมีสิ่งสกปรก สัตว์หรือแมลงต่าง ๆ เล็ดลอดเข้าไปได้ โดยจุดใหญ่ ๆ ที่ควรจะตรวจสอบดู ได้แก่
- ทาสี ควรดูว่าช่างทาสีบนฝ้าเพดานเรียบเนียนดีหรือไม่ มีตรงจุดไหนที่มีรอยด่าง ทาสีไม่เรียบร้อยหรือไม่
- ตำแหน่งรูต่าง ๆ ช่องเจาะสำหรับติดตั้งโคมไฟ ควรจะต้องพอดีกับขนาดโคม เมื่อติดตั้งแล้วไม่มีช่องว่างหรือระยะห่าง
2. รอยต่อระหว่างแผ่นฝ้า แนบสนิทกันหมดหรือไม่
ภาพ: ช่างฉาบรอยต่อฝ้าเพดาน
เวลาติดตั้งฝ้าเพดาน ช่างจะยึดฝ้าเข้ากับโครงคร่าวด้วยสกรู และใช้เทปผ้าปิดตรงรอยต่อและขอบที่ชนกับผนัง จากนั้นก็จะฉาบปิดไม่ให้เห็นรอยต่อ จึงควรตรวจดูว่าบริเวณรอยต่อเหล่านี้แนบสนิทดีหรือยัง มีจุดไหนที่มีระยะห่างหรือไม่ ถ้าเห็นฝ้านูนตามสันรอยต่อ หรือมีรอยแตกร้าวไม่เรียบเนียน ควรซ่อมแซมปิดผิวใหม่ก่อนจะรับงาน
3. ความสูงพอดีหรือไม่ หรือมองแล้วอึดอัด
ภาพ: ภาพรวมในห้องควรมองแล้วสบายตา
ถ้าติดตั้งฝ้าเพดานออกมาแล้ว บรรยากาศในห้องดูทึบ อึดอัด ควรวัดระยะดูว่าตรงตามที่ออกแบบมาหรือไม่ ถ้าเช็กความสูงแล้วไม่ตรงตามแบบก็จะต้องแจ้งช่างให้รื้อแล้วแก้ไขใหม่ หรืออาจจะต้องออกแบบแล้วทำฝ้าเพดานใหม่ให้ตรงความต้องการ เพื่อให้เข้าไปอยู่แล้วสบายมากที่สุด
4. ตรวจสอบดูว่าฝ้าเอียง แอ่นตัว หรือตกท้องช้างหรือไม่
ภาพ: เพดานห้องเรียบเนียนเท่ากัน
ปัญหาฝ้าเอียง แอ่นตัว หรือตกท้องช้าง ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่เห็นได้ชัดถ้าทำฝ้าเพดานไม่ได้มาตรฐาน ควรสุ่มตรวจดูระยะของพื้นถึงฝ้าเพดานว่าเท่ากันทั้งห้องหรือไม่ ถ้าวัดแล้วห่างกันประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยังถือว่าเป็นระยะที่โอเค แต่ถ้าต่างกันเกิน 5 เซนติเมตร ควรจะแจ้งให้ช่างแก้ไขก่อนรับงาน
5. ช่องเซอร์วิสสำหรับงานระบบใต้หลังคา
ภาพ: งานซ่อมแซมระบบบนฝ้าเพดาน
ไม่ว่าจะทำฝ้าเพดานแบบไหน ก็ควรจะมีช่องเซอร์วิสสำหรับขึ้นไปตรวจสอบ หรือซ่อมแซมระบบไฟฟ้า ประปา หรือตรวจการรั่วซึม ช่องเซอร์วิสทั่วไปมักจะมีขนาด 60×60 เซนติเมตร จะเป็นขนาดที่เหมาะสมให้คนขึ้นไปได้พอดี โดยจะต้องดูด้วยว่าช่องเซอร์วิสมีขอบแข็งแรง ไม่มีร่องรอยความเสียหาย เมื่อปิดแล้วก็จะต้องดูเรียบร้อยเป็นหนึ่งเดียวกับฝ้าเพดานทั้งห้อง
สนใจเรื่องฝ้าเพดานอ่านต่อได้เลยที่
อยากเปลี่ยนหรือทำฝ้าเพดานที่บ้านใหม่ อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อม และตรวจสอบให้ดีตามเคล็ดลับที่ NocNoc นำมาฝากกันในวันนี้ สำหรับใครที่กำลังมองหาช่างผู้เชี่ยวชาญมาติดตั้งฝ้าเพดาน และอยากได้วัสดุคุณภาพ คลิกเข้ามาได้เลยที่ NocNoc เราได้รวบรวมสินค้ามาตรฐาน ทั้งวัสดุก่อสร้างและของแต่งบ้านหลากหลายสไตล์ ที่จะช่วยให้ทุกคนได้สร้างบ้านในฝันให้เป็นจริง ด้วยงบประมาณสบายกระเป๋า หมดปัญหาช่างทิ้งงาน เพราะทีมงาน NocNoc พร้อมให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือตลอดการทำงาน
ยังคิดไม่ออกว่าจะทำฝ้าเพดานแบบไหนดีให้เข้ากับสไตล์การตกแต่งที่ชอบ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน NocNoc มาได้เลย หลากหลายไอเดียแต่งบ้านใน Inspiration Feed พร้อมเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ยังไม่แน่ใจว่าสไตล์ไหนคือสไตล์ที่ใช่ ลองให้ Your Style Quiz ช่วยค้นหาสไตล์ที่ตรงใจ และถ้าหากถูกใจสินค้าของแต่งบ้านชิ้นไหน ก็ช้อปบนแอปได้เลยทุกที่ ทุกเวลา สะดวกสบายพร้อมจัดส่งถึงบ้าน
“
176
-
Knowledge
ฝ้าเพดานมีกี่แบบ เลือกแบบไหนดีให้เหมาะกับบ้านเรา?
โพสต์เมื่อ 04 Nov 2024
123
-
Knowledge
รู้จักพื้น SPC ที่สุดของวัสดุปูพื้นที่บ้านยุคใหม่
โพสต์เมื่อ 04 Oct 2024
112
-
Tips&Tricks
วิธีติดตั้งทีวีติดผนังต้องทำยังไงบ้าง เลือกขาแขวนทีวีแบบไหนดีให้เป๊ะปัง
โพสต์เมื่อ 05 Sep 2023
107
-
Tips&Tricks
-
+1
กระเบื้องระเบิด ปัญหาเรื่องพื้นที่ไม่พื้น ๆ รีบแก้ไขด่วน!
โพสต์เมื่อ 05 Apr 2021
107
-
Tips&Tricks
10 แบบกระเบื้องปูพื้นบ้าน เย็นสบายเท้า หน้าไหน ๆ ก็สบาย
โพสต์เมื่อ 28 Apr 2021