• Knowledge

ฝ้าเพดานมีกี่แบบ เลือกแบบไหนดีให้เหมาะกับบ้านเรา?

  • โดย NocNoc Writer

  • 175

NocNoc สรุปให้

  • ฝ้าเพดานเป็นของตกแต่งบ้านชิ้นสำคัญ ที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ปกปิดทั้งงานระบบ สายไฟ ท่อประปา หรือโครงหลังคา ลดความร้อนที่เข้าสู่ห้อง ไปจนถึงช่วยดูดซับและลดเสียงรบกวนด้วย
  • แบบฝ้าเพดานมีให้เลือกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการติดตั้งและสไตล์การแต่งบ้าน ตัวแผ่นฝ้าเพดานเองก็มีให้เลือกหลายชนิด ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป จึงควรทำความรู้จักก่อนติดตั้ง เพื่อให้เลือกได้ตอบโจทย์ที่สุด

ใครที่กำลังอยากตกแต่งบ้านหรือรีโนเวทบ้านใหม่ ฝ้าเพดานบ้านเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบที่ช่วยตกแต่งบ้านให้สวยตามสไตล์ที่ชอบได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านสไตล์โมเดิร์น คลาสสิก ร่วมสมัย หรือแบบอื่น ๆ ก็เลือกแบบฝ้าได้ตามใจ นอกจากฝ้าจะเป็นอีกส่วนที่ตกแต่งบ้านให้สวยเป๊ะแล้ว ก็ยังช่วยปกปิดงานระบบต่าง ๆ ทั้งไฟฟ้าและประปา ทำให้บ้านมีระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น 

 

ฝ้าเพดานไม่ได้มีให้เลือกเพียงแบบเดียวเท่านั้น เพราะเลือกได้ทั้งรูปแบบการติดตั้ง และวัสดุที่ใช้ทำ วันนี้ NocNoc มีความรู้ดี ๆ มาฝากกันว่าฝ้าเพดานมีกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ใครที่อยากรู้ไปดูกันได้เลย!

ฝ้าเพดาน คืออะไร?

ภาพ: ฝ้าเพดาน

“ส่วนที่ช่วยปิดงานระบบบนเพดาน และยังกันเสียงรบกวนได้ด้วย”

ฝ้าเพดาน (Ceiling) คือ ส่วนหนึ่งของบ้านที่ช่วยปิดงานระบบด้านบนเพดาน เช่น สายไฟ ท่อประปา หรือโครงหลังคา ช่วยให้ห้องดูเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น และนอกจากจะใช้ปิดงานระบบงานต่าง ๆ แล้ว แผ่นฝ้าก็ยังเป็นส่วนหนึ่งช่วยลดความร้อนภายในบ้านได้ด้วย  แถมแบบฝ้าเพดานบางประเภทก็ยังดูดซับเสียงได้ ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้อีกด้วย

แบบฝ้าเพดานที่ใช้กันในบ้านมีกี่ประเภท?

1. ฝ้าเพดานฉาบเรียบ

ภาพ: ฝ้าเพดานแบบฉาบเรียบ

“รูปแบบเรียบง่าย ต่อกันทั้งห้อง เข้าได้กับทุกเทส”

แบบฝ้าเพดานที่เรียบง่าย เข้าได้กับการตกแต่งทุกสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นแบบคลาสสิก โมเดิร์น ร่วมสมัย หรือสไตล์อื่น ๆ ต้องนี่เลย ฝ้าแบบฉาบเรียบ ซึ่งเป็นฝ้าที่เรียบต่อกันทั้งห้อง เป็นการติดตั้งแผ่นฝ้าเพดานบ้านเข้ากับโครงอลูมิเนียมที่อยู่ติดกับโครงหลังคา โดยช่างส่วนใหญ่จะชอบใช้แผ่นยิปซั่ม หรือแผ่นซีเมนต์บอร์ดที่แข็งแรง น้ำหนักเบา และติดตั้งได้สะดวก โดยหลังติดแผ่นฝ้าแล้ว ช่างจะฉาบปิดรอยต่อด้วยปูน และทาสีตามเก็บงานในตอนท้าย ก็เลยเลือกได้ว่าอยากจะตกแต่งอะไรเพิ่มเติม ให้เข้ากับภาพรวมภายในห้อง

วิธีติดตั้งฝ้าเพดานฉาบเรียบที่ควรรู้กันไว้ก่อน

ภาพ: วิธีติดตั้งฝ้าฉาบเรียบ
ภาพ: วิธีติดตั้งฝ้าฉาบเรียบ
  • ทำแนวเส้น วัดระดับความสูง ติดตั้งโครงคร่าวไว้ที่ริมผนัง
  • ติดตั้งชุดแขวนฝ้าเพดาน ปรับระดับโครงหลักให้เท่ากัน ใช้คลิปล็อกสลับข้าง
  • ติดตั้งแผ่นฝ้าเข้ากับโครง โดยให้ด้านยาวตั้งฉากกับโครงย่อย แล้วใช้สกรูยึด
  • ฉาบปูนเก็บรอยต่อระหว่างแผ่นฝ้ากับตะปู แล้วขัดให้เนียน ก่อนจะตกแต่งตามแบบที่อยากได้

 

2. ฝ้าเพดานแขวน (ที-บาร์)

ภาพ: ฝ้าเพดานแบบแขวน

“ซ่อมง่าย เปลี่ยนสะดวก แต่ถ้าเน้นสวยอาจยังไม่โดน”

ฝ้าเพดานแบบแขวน หรือที-บาร์ (T-Bar) เป็นแบบฝ้าเพดานที่พบเห็นได้บ่อยในอาคารสำนักงาน เพราะติดตั้งง่าย มีราคาไม่สูง และยังบำรุงรักษาง่าย ถ้ามีส่วนไหนพัง แตก เสียหาย ก็เปลี่ยนเฉพาะจุดได้ ไม่ต้องรื้อออกทำใหม่หมด โดยฝ้าประเภทนี้จะมีโครงเป็นรูปตัว T คว่ำ ติดตั้งต่อกันเป็นช่องสี่เหลี่ยม ส่วนใหญ่มักมีขนาด 60×60 ซม. หรือ 60×120 ซม. เมื่อติดตั้งโครงแล้วก็ติดตั้งแผ่นฝ้าปิดได้เลย

วิธีติดตั้งฝ้าเพดานที-บาร์ (T-Bar) ที่ควรรู้กันไว้ก่อน

ภาพ: วิธีติดตั้งฝ้าทีบาร์
ภาพ: วิธีติดตั้งฝ้าทีบาร์
  • ใช้เลเซอร์ยิงวัดระดับของผนังห้องทั้ง 4 ด้าน ให้ได้ระดับที่เท่ากัน แล้วติดตั้งโครงริมบาร์ที่ผนังทุกด้าน
  • ติดตั้งจุดแขวนโครงทีบาร์หลัก แล้วค่อยแขวนโครงเข้าไปตามจุดที่ทำไว้
  • ติดตั้งโครงทีบาร์ย่อยเข้ากับโครงหลัก และแบ่งเป็นช่องตามระยะเพื่อติดตั้งแผ่นฝ้า
  • ติดตั้งแผ่นฝ้าเข้าไปจนครบทุกจุด แล้วเช็กรายละเอียดอีกครั้งว่ามีตรงไหนเสียหายหรือไม่

3. ฝ้าเพดานซ่อนระบบไฟ

ภาพ: ฝ้าเพดานซ่อนระบบไฟ

“เรียบหรู ติดโคมไฟหรือแชนเดอร์เลียยิ่งเริ่ด”

สำหรับบ้านไหนที่อยากจะแต่งบ้านให้ดูหรู มีเอกลักษณ์มากขึ้น แบบฝ้าเพดานระบบซ่อนไฟ หรือฝ้าดรอปซ่อนไฟนี่แหละตอบโจทย์สุด ๆ เพราะเป็นฝ้าที่เว้นพื้นที่ภายในไว้สำหรับติดตั้งแนวไฟ เมื่อเปิดไฟแล้วแสงไฟจะสะท้อนกับฝ้า ช่วยให้แสงไฟที่ได้นั้นดูนุ่มนวลมากขึ้น ยิ่งถ้าใช้คู่กับไฟเพดานหรือแชนเดอร์เลียสวย ๆ ก็จะทำให้ภาพรวมดูลงตัวมากขึ้น

วิธีติดตั้งฝ้าเพดานซ่อนระบบไฟที่ควรรู้กันไว้ก่อน

ภาพ: วิธีติดตั้งฝ้าซ่อนไฟ
ภาพ: วิธีติดตั้งฝ้าซ่อนไฟ
  • ก่อนจะติดตั้งควรวัดระยะห้อง โครงสร้าง และความสะดวกในการติดตั้ง รวมถึงเวลาดูแลรักษา เปลี่ยนหลอดไฟ
  • วางโครงฝ้าหลักเป็นฝ้าหลุมก่อน โดยเว้นอย่างน้อย 15 ซม. เพื่อให้ดูแลได้สะดวก แล้วควรทำส่วนที่ดรอปลงมาให้หนาประมาณ 10-15 ซม.
  • เมื่อติดตั้งโครงแล้ว ก็ติดตั้งแผ่นฝ้าเช่นเดียวกับการติดตั้งแบบฉาบเรียบ เก็บรายละเอียด และตกแต่งเพิ่มเติมให้เข้ากับสไตล์บ้าน

4. ฝ้าหลุม

ภาพ: ฝ้าหลุม

“เบสิกแต่ไม่น่าเบื่อ เข้ากับบ้านได้แทบทุกสไตล์”

อีกหนึ่งแบบฝ้าเพดานบ้านที่มองผ่าน ๆ แล้วดูเบสิก แต่จริง ๆ แล้วช่วยแต่งบ้านให้น่าสนใจ ทั้งโมเดิร์นและหรูหรามาขึ้น คงหนีไม่พ้นฝ้าหลุมซึ่งเป็นฝ้าเพดานที่ดูใกล้เคียงกับฝ้าซ่อนไฟ แต่ฝ้าแบบนี้จะใช้วิธีเล่นระดับ ทำให้ช่วยให้ห้องดูมีมิติมากขึ้น โดยทำฝ้าให้เป็นหลุมและซ่อนไฟไว้ตรงจุดที่ต่างระดับกัน เมื่อเปิดไฟแล้วก็จะได้แสงไฟที่ดูสบายตามากขึ้น โดยจะใช้เป็นจุดซ่อนแอร์ไว้บนเพดานก็ได้เหมือนกัน

วิธีติดตั้งฝ้าหลุมที่ควรรู้กันไว้ก่อน

ภาพ: การติดตั้งฝ้าหลุม

  • วัดระดับผนังห้องทุกด้าน แบบเดียวกับที่ทำฝ้าฉาบเรียบ แล้วติดตั้งโครงคร่าวเข้าไปก่อน
  • จากนั้นติดตั้งโครงที่เล่นระดับให้มีความสูงตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยอาจทำเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงรี หรือรูปทรงอื่น ๆ
  • ติดตั้งแผ่นแล้วฉาบเก็บรายละเอียด จากนั้นจะทาสีหรือติดตั้งโคมไฟเพิ่มเติมก็เลือกได้เลย

5. ฝ้าระแนง

ภาพ: ฝ้าระแนง

“โล่ง โปร่ง สบาย เป็นธรรมชาติเหมือนอยู่รีสอร์ท”

อยากได้แบบฝ้าเพดานที่ดูทันสมัย โล่งโปร่ง สบายตา แต่ยังคงความเป็นธรรมชาติ ให้ฟีลบ้านสไตล์รีสอร์ท ฝ้าระแนงถือเป็นฝ้าเพดานบ้านที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นการติดตั้งไม้ระแนงเป็นแนวยาว โดยอาจติดตั้งให้ชิดกันหรือเว้นระยะเล็กน้อย ซึ่งช่วยเพิ่มความอบอุ่น อีกทั้งยังช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ถ้าจะให้ดีควรใช้ไม้ระแนงสำเร็จรูปจะติดตั้งได้เร็ว สะดวกสบายยิ่งกว่าเดิม

วิธีติดตั้งฝ้าระแนงที่ควรรู้กันไว้ก่อน

ภาพ: การทำฝ้าไม้ระแนง
ภาพ: การทำฝ้าไม้ระแนง
  • วัดระยะผนังห้อง แล้วติดตั้งคิ้วรางที่ผนัง โดยเจาะแบบฝังพุก แล้วยึดคิ้วด้วยตะปูเกลียวปลายแหลมและปลายสว่าน
  • ตัดแผ่นไม้ระแนงตามระยะที่วัดไว้ แล้วทาสีไม้ระแนงก่อนชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้ให้แห้ง
  • ติดตั้งไม้ระแนงเข้าไปที่คิ้ว ดันให้เข้าล็อกกับคิ้วทั้งสองด้าน แล้วใช้โฟมเส้นอุดช่องว่างให้เรียบร้อย

6. ฝ้าอะคูสติก

ภาพ: ฝ้าอะคูสติก

“ช่วยดูดซับเสียง ทำห้องดูหนังได้สบาย ๆ”

อยากได้ฝ้าเก็บเสียงลองมาดูฝ้าอะคูสติก ซึ่งเป็นฝ้าเพดานบ้านที่มีคุณสมบัติดูดซับเสียง และป้องกันเสียงสะท้อนได้ดี ซึ่งช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก มักจะติดตั้งให้เป็นแผ่นเดียวต่อเนื่องกันตลอดทั้งห้อง ส่วนใหญ่จะพบได้ที่ห้องซ้อมดนตรี โรงภาพยนตร์ แต่ถ้าจะนำมาติดตั้งที่บ้านก็ช่วยให้บ้านเงียบสงบ อยู่สบายมากขึ้น

 

วิธีติดตั้งฝ้าอะคูสติกที่ควรรู้กันไว้ก่อน

ภาพ: ลวดลายฝ้าอะคูสติก
ภาพ: ลวดลายฝ้าอะคูสติก
  • แผ่นอะคูสติกเป็นวัสดุที่ติดตั้งลงบนแผ่นฝ้าฉาบเรียบได้เลย 
  • ทำความสะอาดพื้นก่อน ไม่ควรติดบนพื้นผิวที่ต่างกันเกิน 3 มิลลิเมตร
  • ใช้กาวพลังตะปูทาลงบนแผ่นฝ้าอะคูสติกเป็นจุด ๆ ให้ทั่ว แล้วแปะลงบนพื้นผิวที่ต้องการได้เลย

ได้รู้จักกับแบบฝ้าเพดานตามรูปแบบการติดตั้งไปแล้ว ต่อมาไปดูวัสดุที่ใช้ทำฝ้ากันบ้าง ว่าแต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันยังไง?

วัสดุทำฝ้าเพดานที่นิยมใช้กันมีอะไรบ้าง?

1. ฝ้าเพดานไม้

วัสดุจากธรรมชาติอย่างไม้สามารถนำมาทำเป็นฝ้าเพดานบ้านได้ โดยนิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะค่า ไม้สัก ไม้เต็ง เพื่อความแข็งแรงทนทาน นิยมใช้ไม้ที่มีหน้ากว้าง 3, 4, 5 และ 6 นิ้ว มีความยาวและความหนาให้เลือกหลากหลาย โดยเนื้อไม้แต่ละชนิดก็มีสีสันตามธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป ใช้ได้กับบ้านหลายสไตล์ ทำให้บรรยากาศภายในบ้านดูสบาย ๆ สดชื่นมากยิ่งขึ้น

 

ข้อดี: สวยงามเป็นธรรมชาติ ออกแบบได้ตามความต้องการ ช่วยให้บ้านดูอบอุ่น สบายตามากขึ้น

ข้อเสีย: ราคาสูง ต้องการการบำรุงรักษาเป็นประจำ ไม่ทนต่อปลวกและความชื้น

2. ฝ้าเพดานไวนิล

ใครอยากได้ฝ้าที่ติดตั้งง่าย ลองเลือกใช้ฝ้าเพดานไวนิล เป็นฝ้าเพดานบ้านที่ผลิตจากยูพีวีซี (uPVC) หรือพลาสติกคุณภาพสูง แผ่นฝ้าส่วนใหญ่มักมาพร้อมการติดตั้งแบบเข้าลิ้น แถมยังมีน้ำหนักเบาจึงไม่ส่งผลเสียต่อโครงสร้าง ทำให้ขนย้ายและติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็ออกมาเรียบเนียนทั้งห้อง นอกจากนี้ก็ยังหาซื้อง่าย และมีราคาไม่สูงมากนัก จึงเป็นวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

 

ข้อดี: น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ทนต่อความชื้น ปลวก และยังไม่ลามไฟ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้าน

ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับการใช้งานภายนอก เพราะไม่ทนต่อความร้อน ทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้

3. ฝ้าเพดานแผ่นยิปซั่ม

อยากได้แบบฝ้าเพดานที่ออกแบบได้ตามต้องการทั้งแบบฉาบเรียบที่เน้นความเรียบง่าย ฝ้าหลุมหรือฝ้าระบบซ่อนไฟที่ช่วยเพิ่มลูกเล่นให้กับบ้าน  แผ่นยิปซั่มหรือยิปซั่มบอร์ด ถือเป็นวัสดุที่ตอบโจทย์อย่างมาก เพราะผลิตจากกากผงแร่ยิปซั่มนำมาอัดเป็นแผ่น แล้วใช้กระดาษแข็งประกบทั้งสองด้าน แล้วทำสีหรือลวดลายต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักจะมีขนาด 60×60 ซม. หรือ 60×120 ซม. และความหนาที่ 8, 9, 12 และ 16 มม. โดยแผ่นฝ้ายิปซั่มบางรุ่นก็ยังนำไปทำเป็นฝ้าเพดานบ้านระบบอะคูสติกที่ช่วยป้องกันเสียงได้อีกด้วย

 

ข้อดี: ราคาไม่สูง หาซื้อง่าย มีให้เลือกหลายรุ่น นำไปติดตั้งได้หลายรูปแบบ หรือจะทำสีก็ได้เช่นกัน 

ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับการใช้งานภายนอก เพราะแผ่นฝ้าบางรุ่นไม่ทนปลวกและความชื้น

4. ฝ้าเพดานไฟเบอร์ซีเมนต์

ใครอยากได้แผ่นฝ้าขนาดมาตรฐาน ช่วยเปลี่ยนบ้านให้มีระเบียบ เหมาะกับฝ้าเพดานแบบแขวนหรือที-บาร์ ควรเลือกใช้ไฟเบอร์ซีเมนต์ เพราะเป็นแผ่นฝ้าที่มาพร้อมขนาดมาตรฐาน 60×60 ซม. และ 60×120 ซม. หากต้องการแผ่นใหญ่กว่านี้หรือรูปแบบไม้ระแนงก็มีให้เลือกตามต้องการ นอกจากนี้ไฟเบอร์ซีเมนต์ก็ยังแข็งแรง ทนต่อปลวก และความชื้นได้ดี เพราะผลิตจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ผสมกับเส้นใยเซลลูโลส จึงใช้งานในห้องน้ำได้เลยทีเดียว 

 

ข้อดี: แข็งแรง ทนความชื้น ไม่มีส่วนผสมของไม้จึงปลอดภัยต่อปลวก เหมาะกับฝ้าเพดานบ้านแบบแขวน

ข้อเสีย: มีน้ำหนักมาก ไม่สามารถฉาบบริเวณรอยต่อได้ จึงไม่เหมาะกับการติดตั้งแบบฉาบเรียบ

5. ฝ้าเพดานโลหะ

ภาพ: ฝ้าเพดานโลหะ

อยากทำห้องดูหนัง ห้องร้องคาราโอเกะไว้ที่บ้าน ร้องเพลงดังแค่ไหนก็ไม่ต้องกลัวว่าจะส่งเสียงรบกวนคนในบ้าน สามารถเลือกใช้ฝ้าเพดานที่ทำจากโลหะได้ เพราะนำมาทำเป็นฝ้าแบบอะคูสติกได้ โดยเจาะรูและติดแผ่นดูดซับเสียงที่ด้านหลัง โดยฝ้าโลหะมีให้เลือกทั้งเหล็กหรืออลูมิเนียม ซึ่งใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก หากเป็นฝ้าเพดานอลูมิเนียมจะมีน้ำหนักเบากว่า แต่ก็มีราคาสูงกกว่าแบบเหล็ก จึงควรเลือกใช้ตามงบประมาณที่มี 

 

ข้อดี: แข็งแรง ทนทาน ทนปลวก ทนความชื้น จึงใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกบ้าน

ข้อเสีย: ราคาสูง มีรูปแบบตายตัว ไม่สามารถออกแบบให้ตรงตามความต้องการได้ และต้องการช่างเฉพาะทางมาติดตั้ง

เพื่อให้ทุกคนรู้จักถึงข้อดีและข้อเสียของวัสดุทำฝ้าเพดานบ้านแต่ละแบบมากขึ้น NocNoc มีตารางสรุปง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนเลือกแบบฝ้าเพดานที่เหมาะกับบ้านตัวเองมาให้แล้ว!

ช่างติดตั้งเพดานบ้าน หรือช่างด้านไหน ๆ ก็มีให้เลือกที่ NocNoc

เป็นยังไงกันบ้างกับความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับแบบฝ้าเพดานบ้านที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หากเลือกได้แล้วว่าอยากได้แบบไหน ก็คลิกเข้าไปได้เลยที่ NocNoc เรามีแผ่นฝ้าคุณภาพให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ หรือจะช้อปเฟอร์นิเจอร์หรือของแต่งบ้านอื่น ๆ ก็มีให้เลือกตอบโจทย์ทุกสไตล์ เปลี่ยนบ้านของทุกคนให้เป็นบ้านในฝันได้ง่าย ๆ 

นอกจากสินค้าคุณภาพแล้ว NocNoc ก็ยังช่างผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้านรออยู่อีกเพียบ จะเป็นช่างทำฝ้าเพดาน ปูพื้น ทาสี หรือช่างด้านอื่น ๆ ก็เลือกได้เลยเต็มที่ ไม่ต้องกลัวปัญหาช่างทิ้งงาน หรืองบประมาณบานปลาย เพราะทีมงาน NocNoc คอยช่วยเหลืออยู่ทุกขั้นตอน เพราะเรื่องบ้านเลือกแทนกันไม่ได้จริง ๆ

  • สินค้าเรื่องบ้านให้เลือกเยอะกว่า 500,000 รายการ จากหลากหลายร้านค้าชั้นนำ
  • มี AI ช่วยเลือกสินค้าตามสไตล์ที่ทุกคนชื่นชอบ
  • ช้อปง่ายตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดส่งทั่วไทย
  • บริการงานช่างครบวงจร ไว้ใจได้ ทั้งบริการทำความสะอาด ซ่อมบำรุง ติดตั้ง และตกแต่ง

เรื่องบ้าน…เลือกจนกว่าจะชอบ NocNoc

อยากรีโนเวทบ้านใหม่ แต่ยังไม่มีไอเดียที่ถูกใจ ลองโหลดแอป NocNoc มาเลย! Inspiration Feed มีไอเดียดี ๆ เป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคน แถมยังมีฟีเจอร์ Your Style Quiz เป็นตัวช่วยเลือกสไตล์ที่ใช่มาให้ด้วย ถ้าถูกใจสินค้าชิ้นไหน ก็ช้อปผ่านแอปได้เลยทุกที่ทุกเวลา พร้อมจัดส่งถึงบ้าน!

บทความที่เกี่ยวข้อง