• Knowledge

เคล็ดลับ! เลือกเก้าอี้สุขภาพอย่างไรป้องกันอาการปวดหลังจากออฟฟิศซินโดรม

  • โดย NocNoc Writer

  • 86

“ปวดหลัง” เป็นอาการยอดฮิตของคนวัยทำงาน ยิ่งคนที่ทำงานหน้าจอคอมเป็นเวลานานอาการปวดหลังยิ่งถามหา แม้ว่าปัจจุบันจะมีวิธีรักษามากมายแต่การเลือกที่จะ “ป้องกัน” ก่อนย่อมสำคัญมากกว่า เก้าอี้สุขภาพจึงถูกออกแบบขึ้นมา  เพื่อช่วยป้องกันการนั่งผิดท่า ซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งของปัญหาออฟฟิศซินโดรม เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนั่งทำงานได้อย่างมีความสุข 

ทั้งนี้ใช่ว่าเก้าอี้สุขภาพจะเลือกแบบไหนก็ได้ เพราะความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคนนั้นต่างกัน ดังนั้นเราจึงต้องมาหาคำตอบว่าเก้าอี้สุขภาพตัวไหนที่เหมาะกับคุณด้วย เคล็ดลับ! การเลือกเก้าอี้สุขภาพ

เลือกเก้าอี้สุขภาพจากอาการปวด

เก้าอี้สุขภาพมีการออกแบบเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการปวดตามร่างกาย ด้วยการปรับรูปร่างเพื่อให้เข้ากับสรีระ ทำให้ผู้นั่งสามารถนั่งได้ถูกหลักเออร์โกโนมิก (Ergonomic)  โดยในแต่ละจุดจะมีฟังก์ชั่นที่ตอบสนองต่อร่างกายโดยเฉพาะเพื่อรองรับอาการปวดจากโรคออฟฟิศซินโดรมตามอวัยวะต่างๆเช่น เอว, หลังและคอ สำหรับฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์การแก้อาการปวดเฉพาะจุดมีดังนี้

ปวดเอว (Lumbar Protection Support)

อาการปวดเอวเกิดจากท่านั่งที่ผิดธรรมชาติ การนั่งหลังค่อม ทำให้เอวกับพนักพิงหนังของเก้าอี้ไม่สัมพันธ์กันจึงเกิดอาการปวดเอวตามมา ดังนั้นการเลือกเก้าอี้สุขภาพจึงควรเลือกเก้าอี้ที่มีฟังก์ชั่น Lumbar Protection Support ซึ่งช่วยรองรับบริเวณส่วนเว้าของเอวและหลังตามหลักสรีรศาสตร์

ภาพ: เก้าอี้สุขภาพ Ergotrend ที่มี Lumbar Protection Support

ปวดไหล่ (ที่พักแขน)

สำหรับคนที่มีอาการปวดไหล่ขณะทำงานไม่ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือ โดยส่วนมากนั้นจะเกิดจากการยกไหล่โดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อจนเกิดอาการปวดบริเวณหัวไหล่ตามมา ควรเลือกเก้าอี้สุขภาพที่มีที่พักแขน ซึ่งสามารถปรับระดับความสูงและองศาให้เหมาะกับร่างกายได้ โดยที่พักแขนที่ดีจะช่วยกระจายน้ำหนักไปยังบริเวณสะบักและต้นแขน รองรับการปวดจากยกไหล่ขึ้นสูงจากการวางแขนที่ไม่พอดีได้

ภาพ: เก้าอี้สุขภาพ Ergotrend ที่สามารถปรับที่พักแขนได้

ปวดคอ (พนักพิงศีรษะ)

ในส่วนของคนที่มีอาการปวดคอ สาเหตุมักเกิดจากการนั่งจ้องก้มคอบริเวณหน้าจอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการตึงกล้ามเนื้อคอ ดังนั้นในการเลือกเก้าอี้สุขภาพจึงควรเลือกที่มีฟังก์ชั่นรองรับกล้ามเนื้อคอ อย่างพนักพิงศีรษะที่ช่วยรองรับคอน้ำหนักจากคอ โดยพนักพิงศีรษะที่เหมาะสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าว ควรเลือกเก้าอี้สุขภาพที่สามารถปรับองศาของพนักพิงคอให้พอเหมาะสำหรับสรีระและพฤติกรรมการทำงาน

ภาพ: พนักพิงศรีษะของเก้าอี้สุขภาพ Ergotrend

ปวดหลัง (พนักพิงหลังช่วงล่าง)

อาการปวดหลังในวัยทำงานเกิดจากเก้าอี้ทำงานที่ไม่รองรับกับสรีระและพฤติกรรมในการนั่งทำงาน โดยคนที่มีอาการปวดหลังมักนั่งทำงานหลังค่อม ส่งผลให้กระดูกสันหลังส่วนล่างรับน้ำหนักมากเกิน จนเกิดอาการปวด สำหรับการเลือกเก้าอี้สุขภาพควรเลือกที่มีพนักพิงหลังช่วงล่างเพื่อรองรับกระดูกสันหลังไม่ให้เกิดการโค้งงอและรับน้ำหนักของร่างกายมากเกินไป

ภาพ: เก้าอี้สุขภาพ Ergotrend ที่มีพนักพิงหลังช่วงล่าง

เลือกเก้าอี้สุขภาพจากสรีระของร่างกาย

นอกเหนือจากการสังเกตอาการปวดตามร่างกาย การสังเกตสรีระหรือรูปร่างของเราเองก็สำคัญ แม้ว่าเก้าอี้จะมีคุณภาพสูงแต่เลือกไม่เหมาะสมกับสรีระ ตัวเก้าอี้ก็ไม่อาจแสดงประสิทธิภาพเพียงพอ ทั้งนี้ทั้งนั้นยังรวมถึงการปรับรูปแบบท่าทางการนั่งทำงานที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน (สามารถศึกษาท่านั่งทำงานที่ถูกต้องได้จากบทความนี้

สำหรับการเลือกเก้าอี้สุขภาพจากสรีระของร่างกาย ควรเลือกเก้าอี้ที่สร้างสามารถปรับให้เหมาะกับร่างกาย โดยฟังก์ชั่นของเก้าอี้สุขภาพที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับสรีระมีดังนี้ 

  • ความสูงของเก้าอี้เหมาะสม แน่นอนว่าเก้าอี้สุขภาพส่วนมากจะสามารถปรับระดับความสูงของเก้าอี้ได้ ทว่าในบางครั้งโต๊ะทำงานของเราก็อยู่สูงหรือเตี้ยเกินไป จนทำให้ท่านั่งนั้นออกมาไม่บาลานซ์เท่าที่ควร จึงเลือกเก้าอี้ที่มีระดับความสูง สูงสุด-ต่ำสุด รับกับความสูงของโต๊ะทำงานหรือมุมที่เราใช้ทำงาน 
  • ความความพอดีของที่วางแขน สำหรับท่านั่งในการทำงาน ตำแหน่งในการวางแขนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเก้าอี้ที่สามารถปรับตำแหน่งทั้งความสูงและองศาของที่วางแขนได้ จะเป็นตัวช่วยให้แขนอยู่ตำแหน่งที่เหมาะสมกับการทำงานไม่ต้องยกไหล่ในขณะทำงาน
  • ความลึกและรูปทรงของเบาะต้องสอดรับกับร่างกาย ในส่วนของความลึกและรูปทรงของเบาะเก้าอี้สุขภาพ มีส่วนสำคัญในการช่วยกระจายน้ำหนัก โดยความลึกของเบาะไม่ควรมากกว่าต้นขาและรูปทรงของเบาะควรรองรับสรีระที่พอดี น้ำหนักจะไม่กระจุกตัวที่บริเวณหลังและก้น ส่งให้ช่วยลดอาการปวดหลังและอาการเหน็บชา 
  • ความสูงและปรับระดับองศาของพนักพิงคอ พนักพิงคอเป็นฟังกชั่นที่ช่วยลดอาการปวดบริเวณต้นคอ แต่เนื่องจากสรีระความสูงของร่างกายแต่ละคนไม่เท่านั้น ดังนั้นจึงควรเลือกเก้าอี้สุขภาพที่มีความสูงพอดี นั่งสบาย และสามารถปรับองศาของพนักพิงคอให้เหมาะกับร่างกายเพื่อลดอาการปวดคอ 

ภาพ: เก้าอี้สุขภาพ Ergotrend ที่สามารถปรับได้ตามสรีระ

เลือกเก้าอี้สุขภาพจากเทคโนโลยี

เทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการเลือกเก้าอี้สุขภาพ โดยเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยให้เก้าอี้แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น ด้วยนำออกแบบที่คำนึงถึงสรีระและพฤติกรรมการทำงานของผู้นั่ง สำหรับเทคโนโลยีที่ควรมีในเก้าอี้สุขภาพมีดังนี้

ระบบ Follow back

สำหรับระบบ Follow back เป็นระบบในเก้าอี้สุขภาพที่สามารถปรับเก้าอี้ตามรูปแบบการนั่ง โดยทำหน้าที่รองรับแผ่นหลังตามท่านั่งที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ไม่ว่าจะเปลี่ยนองศาหรือปรับรูปแบบและตำแหน่งการนั่งอย่างไร ก็จะมีระบบรองรับแผ่นหลัง ช่วยให้ลดความเสี่ยงอาการปวดหลังที่เกิดจากการนั่งผิดท่า

ภาพ: เก้าอี้สุขภาพ Ergotrend ที่มีระบบ Follow back

Lumbar Protection Support

Lumbar Protection Support เป็นระบบที่ช่วยรองรับและป้องกันอาการปวดบริเวณแผ่นหลังด้านล่างและเอว โดยระบบดังกล่าวทำหน้าที่รองรับส่วนเว้าของเอวและหลัง ผ่านพนักพิงเสริมพิเศษ ทั้งนี้การเลือกเก้าอี้สุขภาพที่มีระบบ Lumbar Protection Support ควรเลือกเก้าอี้ที่สามารถปรับพนักพิงที่เสริมพิเศษได้ เพื่อให้ส่วนเว้าของเองและหลังตรงกับตำแหน่งพนักพิงพอดี

ภาพ: ระบบ Lumbar Protection Support ในเก้าอี้สุขภาพ Ergotrend

Tilt Lock ระบบล็อคการเอนของพนักพิงเก้าอี้สุขภาพ

ระบบล็อคการเอนของพนักพิง (Tilt Lock) เป็นระบบที่ช่วยปรับระยะท่านั่งให้พอดีและเหมาะสมกับท่านั่งทำงาน เพราะถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่ช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรม แต่หากยังคงนั่งผิดท่าติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาการปวดก็อาจกำเริบได้ ดังนั้นจึงต้องเลือกเก้าอี้สุขภาพที่มีระบบล็อคการเอน เพื่อให้ท่านั่งเป็นท่านั่งที่ถูกต้องหรือป้องกันไม่ให้นั่งท่าที่ผิดธรรมชาติมากเกินไปจนอาจทำให้เกิดอาการปวดได้

ภาพ: ระบบ Tilt Lock ในเก้าอี้สุขภาพ

สรุป

เก้าอี้สุขภาพเป็นหนึ่งในทางออกที่ช่วยตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาออฟฟิศซินโดรม ทั้งการออกแบบเพื่อรองรับสรีระของผู้นั่ง การปรับปรุงรูปลักษณะและฟังก์ชั่นให้เหมาะกับพฤติกรรม เพื่อลดอาการปวดและเพิ่มความสบายในการทำงานมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันคือการปรับพฤติกรรมการนั่งของตัวเอง นั่งชิดกับพนักพิง เลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีในระยะยาว

สำหรับใครที่สนใจเก้าอี้สุขภาพ ทางเราขอแนะนำ Ergotrend เก้าอี้สุขภาพที่ตอบโจทย์วัยทำงาน ด้วยนวัตกรรมการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาออฟฟิศซินโดรม ทำให้นั่งสบาย ไม่ปวดหลัง สามารถหาข้อมูลและช็อปต่อได้ที่ NocNoc.com