• Tips&Tricks

บ้านทรุด? รีบแก้ไขก่อนจะสายเกินไป! วิธีซ่อมพื้นทรุดที่คุณต้องรู้

  • โดย NocNoc Writer

  • 8

NocNoc สรุปให้

  • การแก้ไขบ้านทรุดเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะบ้านที่มีพื้นทรุดลงไปจะส่งผลกระทบอย่างหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรอยร้าว หรือดินโพรงขนาดใหญ่ และถ้าไม่รีบดูแลก็อาจจะส่งผลถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้ชีวิตด้วย
  • ซ่อมบ้านทรุดได้ไม่ยาก แค่ประเมินและตรวจสอบสภาพบ้านให้รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริง อาจจะปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เพื่อคอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ทั้งอุดรอยรั่ว ปิดโพรง และดีดบ้าน

ปัญหาบ้านทรุดเป็นเรื่องใหญ่ที่หลายบ้านต้องพบเจอในทุกปี ยิ่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีอัตราการทรุดตัวประมาณ 2 – 5 เซนติเมตรต่อปี นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ด้วยที่ทำให้บ้านทรุดได้เช่นกัน ไม่ว่าจะมาจากเรื่องโครงสร้าง การต่อเติม หรือการลงเสาเข็ม ก็มีส่วนเช่นกัน วันนี้ NocNoc เลยอยากพาทุกคนไปทำความเข้าใจที่มาที่ไปของการที่บ้านทรุด รวมถึงวิธีการซ่อมบ้านทรุดให้กลับมาปลอดภัยสบายใจได้อีกครั้ง!

รู้มั้ยว่าบ้านทรุดเกิดจากอะไร?

1. สาเหตุทางธรรมชาติ

ภาพ: การเกิดบ้านทรุด

“พื้นบ้านทรุดจากธรรมชาติ”

ก่อนจะไปแก้ไขบ้านทรุด อยากชวนมาดูสาเหตุหรือต้นตอของปัญหากันก่อน โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดินเคลื่อนตัว ยุบตัว จากความชื้นหรือฝนตกมากเกินไป ยิ่งบ้านไหนอยู่ใกล้แม่น้ำ ทะเลสาบต่าง ๆ ให้เตรียมตัวไว้ได้เลยว่าอาจจะเสี่ยงบ้านทรุดพื้นทรุดได้ เพราะในพื้นที่ที่ดินอ่อนตัวโครงสร้างบ้านก็มีโอกาสยุบลงไปตามนั่นเอง

2. การก่อสร้างที่ไม่ถูกต้อง

ภาพ: การลงเสาบ้าน

“ถ้าฐานบ้านไม่ถูกอาจจะเกิดปัญหาแน่”

อีกสาเหตุที่ทำให้เกิดพื้นบ้านทรุดก็อาจจะมาจากการก่อสร้างโครงสร้างที่ไม่มีคุณภาพ ทั้งนี้ก็อาจมาจากการเลือกใช้วัสดุที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้โครงสร้างบ้านไม่แข็งแรง เกิดการทรุดลงไป หรือเทคนิคที่ใช้อาจจะไม่ตรงตามมาตรฐานหรือถูกต้องตามหลักที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นการวางฐานรากไม่ลึก ไม่ได้เสริมโครงให้แข็งแรง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาได้ รวมถึงยังมีสาเหตุจากเสาเข็มที่ไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย

  • เสาเข็มสั้นเกิน – ทำให้ดินยุบตัวได้รวดเร็วกว่าปกติเพราะส่วนที่ยึดฐานรากไว้น้อยเกินไป ก็จะส่งผลให้เสาเข็มทรุดตัว และกลายเป็นสาเหตุของพื้นบ้านทรุดในที่สุด
  • เสาเข็มอยู่บนดินทราย – การตอกเสาเข็มลงบนดินทรายหรือดินที่มีเนื้ออ่อนเกินไป จะส่งผลให้เกิดการยุบตัวได้เร็วกว่าปกติ และทำให้พื้นบ้านทรุดได้เช่นกัน
  • เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ – ถ้าไม่ได้ตรวจสภาพของพื้นดินให้ดีก่อน ทำให้ไม่สามารถคำนวณการลงเสาเข็มได้ถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้บ้านทรุดได้เช่นกัน

เมื่อรู้สาเหตุของบ้านทรุดกันไปแล้ว ต่อมาอยากชวนทุกคนไปดูว่าผลกระทบจากปัญหานี้จะมีอะไรบ้าง ตรงกับที่ได้พบเจอมาหรือไม่ เพื่อให้ช่วยหาทางรับมือได้ทัน ตาม NocNoc ไปดูกันเลย

สัญญาณเตือนบ้านทรุดดูยังไง และส่งผลยังไงบ้าง?

1. ผนัง และกำแพงเกิดร้อยราว ทำให้บ้านดูโทรม

ภาพ: ผนังบ้านแตกร้าว

“รอยร้าวต่าง ๆ ทำให้บ้านดูโทรม”

บ้านโทรม พื้นบ้านทรุด หรือผนังร้าวเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบหลายอย่าง แต่อย่างนึงที่เราเห็นกันได้ชัด ๆ เลยคือบ้านจะไม่สวย ยิ่งเป็นบริเวณผนังหรือกำแพงที่เห็นได้ชัดยิ่งต้องหนักใจ มองเข้าไปแล้วรู้สึกว่าบ้านมันดูเก่าและโทรม หรือแม้แต่พื้นบ้านเองพอมันทรุดลงไป จะทำให้เกิดรอยร้าว บางจุดที่มีรูรั่วก็จะเกิดน้ำไหลซึมออกมา สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้อีกด้วย

2. ประตูหน้าต่างในบ้านใช้งานได้ไม่เหมือนเดิม

ภาพ: รอยร้าว

“ระวังประตูและหน้าต่างจะมีปัญหา”

หากไม่ได้แก้ไขพื้นบ้านทรุด ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาต้องระวังประตูและหน้าต่างมีปัญหา ไม่ว่าจะเริ่มเปิด-ปิดยาก มีเสียงดังจากการเสียดสีกัน เกิดช่องว่างระหว่างประตูหรือหน้าต่างกับกรอบที่ไม่สม่ำเสมอ อาจพบการบิดเบี้ยวหรือผิดรูป รวมถึงการรั่วซึมของน้ำ อากาศ ที่ทำให้ไม่สามารถปิดสนิทได้เหมือนเดิม

3. พื้นเป็นโพรงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

ภาพ: พื้นทรุด

“ถ้าปล่อยไว้อาจเกิดอุบัติเหตุได้”

เวลาเกิดโพรงรอบบ้าน ดินเกิดยุบตัว ยิ่งถ้าปล่อยไว้นานอาจจะเห็นโครงสร้างด้านในที่เป็นฐานราก ถ้าไม่แก้ไขอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งเสี่ยงต่อการเดินสะดุด เจอสัตว์อันตรายไม่ว่าจะหนู งู หรือสัตว์อื่น ๆ ร้ายไปกว่านั้นอาจจะเกิดบ้านทรุดตัวรุนแรงจนถล่มได้เลย

พอรู้กันแล้วว่าสาเหตุบ้านทรุดมาจากอะไร รวมถึงถ้าไม่แก้ไขบ้านทรุดจะเกิดผลกระทบอะไรตามมาบ้าง ต่อไป NocNoc จะขอพาทุกคนไปดูวิธีการซ่อมบ้านทรุดให้กลับมาสวยอีกครั้ง

วิธีการซ่อมบ้านทรุด ต้องทำยังไง?

1. ตรวจสอบต้นตอและสาเหตุ

ภาพ: การตรวจสภาพบ้านหาสาเหตุ

“ตรวจเช็กให้พบสาเหตุที่แท้จริง”

จะเริ่มซ่อมบ้านทรุดก็ต้องเริ่มจากการตรวจสอบต้นตอและสาเหตุของปัญหาอย่างละเอียดเลย อาจจะสำรวจตั้งแต่สภาพทั่วไปของบ้าน พื้น กำแพง และโครงสร้างหลัก เพื่อหาจุดที่มีความเสียหายหรือการทรุดตัว นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาสาเหตุที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น การระบายน้ำที่ไม่เหมาะสม การรั่วซึมจากท่อ หรือการเปลี่ยนแปลงของดินใต้ฐานราก เพราะการเข้าใจต้นตอและสาเหตุจะช่วยให้สามารถวางแผนการซ่อมแซมได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

2. ปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญ

ภาพ: ผู้เชี่ยวชาญเรื่องบ้าน

“เตรียมหาผู้ที่ประสบการณ์มาช่วย”

ถึงเราไม่เชี่ยวชาญไม่ชำนาญ แต่บอกเลยว่าเรื่องซ่อมพื้นทรุดก็สามารถเป็นเรื่องง่าย ๆ ได้ แค่ติดต่อช่างที่มีประสบการณ์ในการแก้ไขบ้านทรุด โดยให้ช่างผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง รวมถึงให้ช่างช่วยแนะนำและให้คำปรึกษาวิธีการซ่อมที่เหมาะสม พร้อมบอกอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะช่วยเนรมิตบ้านให้กลับมาสวยและอยู่ในสภาพที่ดีได้อีกครั้ง

NocNoc Home Solution เพื่อนผู้เชี่ยวชาญ แบบ One Stop Service ช่วยดูแลทุกปัญหาเรื่องบ้านให้ง่ายขึ้น

NocNoc Home Solution บริการเรื่องบ้าน ทั้งการซ่อมแซม รีโนเวท หรืองานช่างติดตั้ง ทาสีต่าง ๆ เพราะเรา คือ เพื่อนผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการเพื่อช่วยให้ทุกเรื่องบ้านเป็นเรื่องง่าย และสะดวกสบาย โดยมีช่างมืออาชีพเป็นเพื่อนคู่คิดในทุกบริการ สะดวกสบาย ครบ จบ ที่ NocNoc ที่เดียว 

3. ฉีดวัสดุอุดรอยรั่ว

ภาพ: การฉีดอุดรอยรั่ว

“ตรงไหนมีรอยรั่วก็ต้องอุดปิดให้หมด”

จะแก้รอยร้าวรอยรั่วซ่อมพื้นทรุดให้ได้ผลก็ต้องฉีดวัสดุอุดรอยรั่วหรือวัสดุกันรั่วซีม ป้องกันบริเวณที่ร้าวและมีน้ำรั่วซึมไม่ให้มด แมลง หรือสัตว์ตัวเล็ก ๆ เล็ดลอดมาได้ โดยวัสดุที่ฉีดได้มีหลายอย่าง ดังนี้

  • ซิลิโคน -เป็นวัสดุหนึ่งที่สามารถใช้อุดรอยร้าวรอยรั่วได้ดี ที่สำคัญยังใช้กับวัสดุได้หลายประเภท ทั้งคอนกรีต เหล็ก หรือแม้กระทั่งกระจกก็ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน 
  • กาวโพลียูรีเทน – วัสดุที่มีประสิทธิภาพและมาพร้อมคุณสมบัติยืดหยุ่นและทนทานต่อความชื้นเป็นอย่างมาก ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคต
  • อะคริลิก – เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ยืดหยุ่นสูงและใช้งานได้กับหลายพื้นผิว ทำให้ผิวดูเรียบเนียนได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องจ้างช่างหรือใช้เครื่องมือที่ซับซ้อน

4. เทคอนกรีตปิดโพรง

ภาพ: โพรงจากบ้านทรุดตัว

“ปิดโพรงให้ดีอย่าไม่มีช่องว่าง”

นอกจากรอยรั่วที่น้ำไหลซึมออกมา ส่วนใหญ่เวลาบ้านทรุดก็จะเกิดเป็นโพรงใหญ่ทำให้ต้องรีบแก้ไขและจัดการ วิธีหนึ่งที่ได้ผล คือ การเทคอนกรีตซ่อมพื้นทรุดเพื่อปิดโพรงบริเวณพื้นนั้นให้เรียบร้อย เป็นการช่วยเสริมความมั่นคงให้กับโครงสร้างบ้านแข็งแรงยิ่งขึ้น แถมยังป้องกันไม่ให้เกิดการทรุดตัวในอนาคตอีกด้วย 

5. ดีดบ้านให้สูงขึ้น

ภาพ: แก้ไขบ้านทรุด

“ยกบ้านดีดบ้านซ่อมบ้านทรุดให้สูง”

ดีดบ้านเป็นอีกวิธีที่ช่วยซ่อมบ้านทรุดให้สูงและสวยเหมือนเดิมได้อีกครั้ง ปรับแก้โครงสร้างเดิมให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น และให้เหมาะกับน้ำหนักของตัวบ้านด้วย โดยจะตัดโครงสร้างตรงเสาตอม่อ ออกจากฐานรากแล้วค่อยยกบ้านขึ้น แล้วจึงทำโครงสร้างอีกส่วนที่มารับเสาตอม่อที่แยกออก แม้วิธีซ่อมบ้านทรุดวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ต้องบอกเลยว่าจะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

แก้ไขบ้านทรุดต้องรีบซ่อมก่อนจะสาย ให้ NocNoc เป็นอีกตัวช่วย

ปัญหาบ้านทรุดไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่สามารถหาทางซ่อมพื้นทรุดได้ไม่ยาก ด้วยบริการจาก NocNoc Home Solution บริการเรื่องช่างครบวงจร  ไม่ว่าจะเป็น งานประกอบ งานติดตั้ง ต่อเติม รีโนเวทและอื่น ๆ อีกมากมายครอบคลุมทุกเรื่องบ้าน แถมยังรับประกันงานบริการนานสูงสุด 12 เดือน* 

ไม่ต้องห่วงเรื่องทิ้งงานกลางทางหรืองบประมาณบานปลาย ให้มั่นใจได้ว่าจะได้งานที่เนี๊ยบเป๊ะ 

  • ให้คำปรึกษา ทุกเรื่องบ้านโดยทีมงาน NocNoc และยังมี NocNoc GPT ช่วยค้นหาแรงบันดาลใจให้ทุกพื้นที่ ด้วยระบบ AI 
  • บริการออกแบบ Pre-Design และ 3D เห็นภาพเสมือนจริงได้แบบที่ตรงใจ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งานของห้อง โดยมี NocNoc Designer เป็นผู้ดูแลทุกขั้นตอน
  • ช่วยเลือกสินค้าตามสไตล์คุณ ไม่ว่าจะเลือกง่ายๆจาก Pre-set ที่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หรือช่วยเลือกจากกสินค้ากว่า 900,000 รายการที่มีให้เลือกจนกว่าจะชอบ 

นอกจากนี้ NocNoc ยังมีสินค้าคุณภาพพร้อมโปรโมชั่นปัง ๆ และทริกสำหรับการดูแลบ้าน หรือไอเดียแต่งบ้าน เพียงแค่ลองโหลดแอป NocNoc มาเลย! Inspiration Feed มีไอเดียดี ๆ เป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคน แถมยังมีฟีเจอร์ Your Style Quiz เป็นตัวช่วยเลือกสไตล์ที่ใช่มาให้ด้วย ถ้าถูกใจสินค้าชิ้นไหน ก็ช้อปผ่านแอปได้เลยทุกที่ทุกเวลา พร้อมจัดส่งถึงบ้าน!

  • สินค้าเรื่องบ้านให้เลือกเยอะกว่า 900,000 รายการ จากหลากหลายร้านค้าชั้นนำ
  • มี AI ช่วยเลือกสินค้าตามสไตล์ที่ทุกคนชื่นชอบ
  • ช้อปง่ายตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดส่งทั่วไทย

เรื่องบ้าน…เลือกจนกว่าจะชอบ NocNoc

NocNoc Writer

กองบรรณาธิการ NocNoc ที่อยากถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับบ้าน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนสามารถสร้างบ้านในฝันให้เป็นจริง