-
Tips&Tricks
-
Knowledge
เคล็ดลับ ติดแอร์จุดไหนในห้องนอน เย็นฉ่ำทั้งห้อง
-
โพสต์เมื่อ 24 Jul 2020
-
โดย NocNoc Writer
-
3
แอร์ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าคู่ใจที่ช่วยให้ใครหลายคนรอดพ้นจากสภาพอากาศประเทศไทยได้ ด้วยการเปิดอุณหภูมิแอร์ต่ำๆให้เย็นฉ่ำต่อสู้กับอากาศร้อนของเมืองไทย แต่จะดีกว่าไหมถ้าสามารถเพิ่มความเย็นภายในห้องได้ โดยที่ไม่ต้องให้แอร์ทำงานหนักด้วยการปรับตำแหน่งการติดแอร์ โดยในวันนี้ NocNoc.com นำเคล็ดลับตำแหน่งการติดแอร์ให้เย็นฉ่ำทั้งห้องมากฝาก
ทำความเข้าใจแอร์ก่อนติดแอร์
เครื่องปรับอากาศหรือที่เรียกกันติดปากว่าแอร์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นให้กับห้องด้วยการปรับอุณหภูมิ ซึ่งในการติดแอร์มีสิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นก่อนติดตั้งดังนี้
ขนาดของแอร์
ในการติดแอร์เบื้องต้นต้องคำนึงถึงขนาดแอร์เป็นหลัก โดยขนาดของแอร์จะส่งผลโดยตรงต่อความเย็นภายในห้อง แอร์ที่เล็กเกินไปกับขนาดห้องส่งผลให้ห้องไม่เย็นหรือเย็นช้า ส่วนแอร์ที่ใหญ่เกินขนาดห้องจะทำให้ห้องมีความชื้นมากเกินไปจนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
ในการวัดขนาดของแอร์กับขนาดห้อง โดยจะวัดจากความสามารถในการดึงความร้อนออกจากห้องได้กี่ BTU ต่อชั่วโมง (BTU คือหน่วยวัดขนาดของแอร์) ซึ่งขนาดของแอร์กับขนาดห้องสามารถวัดได้เบื้องต้นดังนี้
ตารางเปรียบเทียบขนาดแอร์กับขนาดห้อง
ขนาดของประตูและหน้าต่าง
ในห้องประตูและหน้าต่างที่มีขนาดใหญ่ หากเปิดเข้า-ออกบ่อยครั้ง ความเย็นจากภายในห้องสามารถระบายออกไปได้เร็ว และหากห้องนั้นมีหน้าต่างกระจกบานใหญ่ ความร้อนจากด้านนอกจะสามารถแผ่กระจายเข้ามาภายในห้องได้ ดังนั้นการเลือกแอร์สำหรับห้องที่มีขนาดประตูและหน้าต่างใหญ่ ต้องเผื่อขนาดแอร์ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการรั่วของอุณหภูมิ
ภาพ: แอร์ Daikin
ทำไมต้องแอร์ Daikin
- แผงวงจรทนทานพิเศษ ทนไฟตก ไฟกระชาก ทำงานได้แม้ไฟตก 150 โวลต์
- ระบบตาอัจฉริยะ เครื่องปรับอากาศจะลดการใช้พลังงานลงเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้อง
- เซ็นเซอร์วัดระดับความชื้น เย็นเร็ว สบายมากยิ่งขึ้นโดยไม่มีหยดน้ำเกาะ
- ระบบป้องกันกลิ่นอับและเชื้อรา ยับยั้งกลิ่นไม่พึงประสงค์
จำนวนคนภายในห้อง
การติดแอร์ในห้องนอนไม่เป็นปัญหาสำหรับข้อนี้ แต่หากติดแอร์ในห้องที่มีคนจำนวนมาก อย่างห้องรับแขก อาจต้องพิจารณาเพิ่มขนาดแอร์และปรับอุณภูมิให้ต่ำลงกว่าปกติ เพราะยิ่งจำนวนคนมาก แต่ละคนจะแย่งเอาอากาศหายใจ ทำให้ห้องเย็นช้า
ภาพ: แอร์ Carrier
ทำไมต้องแอร์ Carrier
- เทคโนโลยีช่วยประหยัดพลังงาน ทำความเย็นสูงแต่ใช้กระแสไฟต่ำ
- ขนาดพัดลมใหญ่ขึ้น ส่งลมได้ไกล
- เทคโนโลยีถอดล้างทำความสะอาดคอยล์เย็นทำได้ง่ายและสะดวก
หลังจากทำความเข้าใจการเลือกแอร์เบื้องต้นแล้ว ต่อมาคือเคล็ดลับที่จะช่วยให้ห้องนอนของคุณเย็นฉ่ำมากขึ้น เพียงแค่รู้เคล็ดลับตำแหน่งติดแอร์
แอร์ต้องไม่อยู่เหนือบานประตู
ตำแหน่งในการติดตั้งแอร์ที่ช่วยให้แอร์เย็น ลำดับแรกคือการป้องกันไม่ให้อากาศจากภายในออกไปภายนอก เพื่อรักษาอุณภูมิให้เย็น ดังนั้นการติดแอร์อยู่เหนือบานประตูจึงเป็นทางเลือกที่ไม่ดีเท่าไรนัก เนื่องจากตำแหน่งบานประตูมีการเปิด-เข้าออกบ่อยครั้งและมีช่องระบายอากาศ ทำให้อากาศจากภายนอกเข้ามาภายในห้อง และในการทำอุณหภูมิให้เย็นคงที่ตลอดเวลาต้องใช้ไฟมาก เปลื้องพลังงานและเย็นช้า
ภาพ: แอร์ Hitachi
ทำไมต้องแอร์ Hitachi
- ขีดจำกัดทำความเย็นมากถึง 10,200 BTU
- ความสามารถในการลดความชื้น ถึง 1.4 (L/h)
- ประหยัดพลังงานด้วยการรับรองจากฉลากประหยัดเบอร์ 5
ไม่ควรอยู่เหนือศีรษะ
โดยการติดตั้งแอร์ให้อยู่เหนือศีรษะ ลักษณะการนอนเป็นการนอนใต้แอร์ ซึ่งแอร์จะเป่าลมโดนแค่บริเวณร่างกาย แต่ไม่ครอบคลุมบริเวณห้อง ทำให้ห้องเย็นแค่บางส่วน ไม่เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำกิจกรรมในห้องเช่น เล่นเกม อ่านหนังสือหรือทำงาน เพราะแอร์จะกระจายความเย็นไม่เท่ากันทั้งห้อง
ภาพ: แอร์ Central Air
ทำไมต้องแอร์ Central Air
- รูปทรงทันสมัย การทำงานเงียบ
- มีระบบ Auto Restart
- แผงคอยล์เย็นแบบ Hydrophilic Aluminum Fin
หลีกเลี่ยงการโดนแสงโดยตรง
ตำแหน่งในการติดตั้งแอร์ที่โดนแดด จะแอร์ได้รับความร้อนมาๆ ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น อีกทั้งห้องที่โดดแดดส่องตลอดเวลา อุณหภูมิภายในห้องจะสูงกว่าห้องปกติ ดังนั้นขนาดของแอร์ที่เลือกจึงต้องใหญ่ขึ้นและเปิดแอร์ที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ
ภาพ: แอร์ Mitsubishi
ทำไมต้องแอร์ Mitsubishi
- Fast Cooling เพื่อปรับอุณหภูมิให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว
- Sleep Mode เทคโนโลยีเพื่อการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่
- Nano Platinum Filter แผ่นกรอง อากาศที่ผสมอนุภาคแพลตินั่มที่มีขนาดเล็กระดับนาโน ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบลทีเรีย เชื้อรา และกลิ่นไม่พึ่งประสงค์
- Dual Barrier CoatingX3 เคลือบสารในชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการเกาะติดของฝุ่นและละอองน้ำมันที่ปะปนมาในอากาศ
ติดแอร์ตามขนาดและรูปทรงของห้อง
ขนาดและรูปทรงของห้องเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ความเย็นจากแอร์กระจายทั่วห้อง โดยความเย็นของแอร์มีการกระจายทิศทางที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การติดแอร์ในห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ควรติดตั้งในแนวยาวเพื่อให้แอร์สามารถกระจายความเย็นได้ทั้งทิศทางซ้ายและขวา
ภาพ: แอร์ Carrier
ทำไมต้องแอร์ Carrier
- สารทำความเย็นรุ่นใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- คอยล์เย็นเคลือบสารทำความสะอาดคอยล์ “AQUA RASIN” ลดการสะสมของฝุ่น แบคทีเรีย
- ระบบทำความสะอาดแผงคอยล์เย็นอัตโนมัติ
เพดานกับแอร์เป็นของคู่กัน
ในการติดแอร์ให้ห้องเย็นฉ่ำ ความสูงของเพดานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความเย็นของแอร์เช่นเดียวกัน โดยห้องนอนที่มีความสูงเกิน 2.5 เมตร ตำแหน่งในการติดตั้งอาจไม่สามารถแก้เรื่องความเย็นได้ ควรเปลี่ยนแอร์จากแบบติดผนังมาใช้แอร์แบบฝังในฝ้าแทน จะช่วยให้ความเย็นกระจายภายในห้องมากขึ้น
ภาพ: แอร์ฝังในฝ้า Daikin
ทำไมต้องแอร์ฝังในฝ้า Daikin
- ลดการรั่วไหลของสารทำความเย็น ทำให้ห้องเย็นนานมากขึ้น
- ใช้สารทำความเย็น R32 ส่งผลให้ห้องเย็นเร็วและประหยัดพลังงาน
- กระจายลมได้รอบทิศทาง 360 องศา
สรุป
การติดแอร์ตามตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยให้ห้องนอนเย็นมากขึ้น โดยที่คุณไม่ต้องเสียค่าไฟเพิ่ม ทั้งประหยัดพลังงานและได้ห้องนอนที่น่านอน หลับสบาย ไม่ต้องกังวลเรื่องแอร์ร้อนอีกต่อไป นอกเหนือจากแอร์แล้วห้องนอนยังมีลูกเล่นให้ตกแต่งอีกมายมาก ทั้ง เตียงนอน, ตู้เสื้อผ้า หรือจะเล่นใหญ่รีโนเวทห้องนอนในฝัน ก็สามารถทำได้
และสำหรับใครที่กำลังมองหาแอร์หรือสนใจในการตกแต่งห้องนอน NocNoc.com มีแอร์และสินค้าจำนวนมาก ให้เลือกหลายสไตล์ นอกจากนี้ NocNoc.com ยังใจดีแจกโปรโมชั่นส่วนลดมากมาย เพื่อให้ทุกคนได้แต่งบ้านด้วยสินค้าคุณภาพในราคาที่ถูกใจ เพราะ NocNoc.com เราพร้อมเป็นตัวช่วยเปลี่ยนความฝันเรื่องบ้านให้เป็นความจริง!
“
แต่งบ้านได้สุดอย่างฝัน ที่ NocNoc.com
แต่งบ้านได้สุดอย่างฝัน ที่ NocNoc.com
627
-
Others
-
+1
10 ชุดโฮมเธียเตอร์ยี่ห้อไหนดี เปลี่ยนบ้านให้เป็นโรงหนังขนาดย่อม
โพสต์เมื่อ 23 Sep 2022
620
-
Idea&Inspiration
10 ไอเดียพื้นบ้านสีดำ น่าค้นหา มีเสน่ห์!
โพสต์เมื่อ 24 May 2021
618
-
Idea&Inspiration
5 ไอเดียชั้นวางของในห้องน้ำ ช่วยจัดระเบียบของให้เข้าที่เข้าทาง
โพสต์เมื่อ 31 Oct 2023
615
-
Idea&Inspiration
10 ไอเดีย แต่งโต๊ะอาหาร ให้ได้ฟิลร้านอาหาร
โพสต์เมื่อ 23 Mar 2021
607
-
Idea&Inspiration
-
+1
รู้ก่อนแก้ก่อน! สาเหตุตู้เย็นปิดไม่สนิททำให้ไม่เย็น
โพสต์เมื่อ 30 Jan 2023